Page 197 - รายงานประจำปี ๒๕๖๔ กระทรวงวัฒนธรรม
P. 197
หมายเหตุ ๓ : สรุปนโยบายการบัญชีที่ส�าคัญ
๓.๑ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่หน่วยงานได้รับจากรัฐบาลเพื่อทดรองจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายปลีกย่อยในการด�าเนินงาน
ของหน่วยงานตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และต้องคืนให้รัฐบาลเมื่อหมดความจ�าเป็นในการใช้เงิน แสดงไว้เป็นเงินสด
และรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งต้องมียอดตรงกันข้ามกับรายการเงินทดรองราชการรับจากคลังภายใต้หัวข้อหนี้สิน
ไม่หมุนเวียน
- รายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องซึ่งมีระยะเวลาครบก�าหนดที่จะเปลี่ยนให้
เป็นเงินสดได้ภายใน ๓ เดือน เช่น เงินฝากประจ�า บัตรเงินฝาก และตั๋วเงินที่มีวันถึงก�าหนดภายใน ๓ เดือน
แสดงไว้เป็นรายการเทียบเท่าเงินสด
- เงินฝากคลัง เป็นเงินนอกงบประมาณที่มีข้อจ�ากัดในการใช้จ่าย เพื่อจ่ายต่อให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น
ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในกฎหมาย หน่วยงานไม่สามารถน�าไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการด�าเนินงานของหน่วยงาน
ตามปกติได้ แต่มีหน้าที่ถือไว้เพื่อจ่ายตามวัตถุประสงค์ของเงินฝากคลัง
๓.๒ ลูกหนี้
- ลูกหนี้ แสดงด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะตั้งขึ้นส�าหรับลูกหนี้ ส่วนที่คาดว่าจะไม่สามารถ
เรียกเก็บเงินได้ โดยพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับจ�านวนลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้ ข้อมูลประวัติการช�าระหนี้
และหลักฐานการติดตามลูกหนี้แต่ละราย ร่วมกับการวิเคราะห์อายุลูกหนี้
- ลูกหนี้เงินยืมในงบประมาณ หมายถึง จ�านวนเงินในงบประมาณที่หน่วยงานจ่ายให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง
พนักงาน และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อน�าไปทดรองใช้จ่ายในการด�าเนินงานของหน่วยงานซึ่งอยู่ในระหว่าง
รอรับช�าระคืนหรือรอการส่งชดใช้ใบส�าคัญ
- ลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ หมายถึง จ�านวนเงินนอกงบประมาณที่หน่วยงานจ่ายให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง
พนักงาน และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อน�าไปทดรองใช้จ่ายในการด�าเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งอยู่ในระหว่าง
รอรับช�าระคืนหรือรอการส่งชดใช้ใบส�าคัญ
รายงานประจำาปี ๒๕๖๔ 197 กระทรวงวัฒนธรรม