Page 77 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 77

ทำางานบ้าน  แถมยังเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  เป็นอสม.  และเข้าร่วมงานพัฒนาหมู่บ้าน
           ในหลายด้าน ทั้งงานฝึกอาชีพ และเป็นกรรมการกองทุนต่าง ๆ ดังนั้น เธอจึงได้รับ

           ความไว้วางใจจากสมาชิกให้ทำาหน้าที่ดูแลบัญชีและการติดต่อประสานงานกับ
           บริษัทเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง


           “ตอนแรกคนก็กล้า  ๆ  กลัว  ๆ  ไม่กล้ารับผิดชอบ  เพราะคนที่ไปฝึกงานที่กรุงเทพฯ

           รู้ว่า เขาท�างานในระบบติดต่อต่างประเทศ” หนูแดงเล่าถึงตอนเริ่มแรก ที่ไม่มั่นใจ
           เรื่องการประสานงานเอกสารกับทางบริษัท “แรก ๆ ก็คุยกับบริษัทไม่รู้เรื่อง เพราะเราจบ
           แค่ ป.4 ป.6 กัน ลูกน้องก็ใจเสีย ได้เงินมาคนละประมาณ 2-3 พันบาทต่อเดือน”


              สร้ำงงำนอำชีพในชุมชน

           กลุ่มแม่บ้านทำางานกันเป็นทีม ทุกเช้าจะมานั่งเย็บผ้าที่อาคารศูนย์ฝึกอาชีพ
           Grassroots Grant Project (GGP) ซึ่งเป็นอาคารหลังใหญ่ขนาด 20x40 เมตร
           สามารถตั้งวางจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม  และจักรคอม้า  ได้นับร้อยตัว  ตัวอาคารและ

           จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม  มูลนิธิรักษ์ไทยได้เสนอโครงการของบประมาณสนับสนุน
           จากสถานทูตญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ GGP โดยขอใช้พื้นที่จากองค์การบริหารส่วนตำาบล
           ในแผนจะโอนตัวอาคารให้เป็นการดูแลของ อบต.ต่อไป ส่วนใหญ่กำาลังการผลิตของ
           แม่บ้านจะอยู่ที่ 40-50 คน หมุนเวียนกันไป



           หนูแดงรับหน้าที่ติดต่อบริษัทเอกชนที่ส่งงานมา  คอยท�าบัญชี  คอยประสานงานเรื่อง
           พีโอ (PO.-Purchase Order / ใบสั่งซื้อ) คอยตรวจเช็กว่าถ้ามีพีโอเข้ามา 3,000 หรือ
           5,000 ชิ้นต่อเดือน จะผลิตได้เท่าไร และเมื่อทางบริษัทส่งของมาให้ท�า ทางกลุ่มแม่บ้าน

           ก็ผลิตได้จริง บ่อยครั้งที่สามารถท�าเสร็จก่อนเวลา แสดงถึงความรับผิดชอบและ
           ความร่วมแรงร่วมใจกันท�างานของหมู่คณะ


           ช่วงเริ่มต้น 3-4 ปีแรก รักษ์ไทยเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำาปรึกษาเรื่องการบริหารการเงิน

           การบริหารงานกลุ่ม  การทำางานในเชิงธุรกิจ  ซึ่งในระยะแรกมักจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจ


                                                               ผู้หญิงก้าวเดิน  75
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82