Page 303 - ทำเนียบคนตรวจเงินแผ่นดิน ปีที่ 108
P. 303

ประวัติย่อก�รจัดทำ�ทำ�เนียบคนตรวจเงินแผ่นดิน <






                      ประวัติย่อก�รจัดทำ�ทำ�เนียบคนตรวจเงินแผ่นดิน



                   ปี  พ.ศ.  2566  เป็นปีที่ครบรอบการสถาปนาสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินปีที่  108  ทั้งนี้จากวันแรกที่เริ่มต้นก่อตั้งองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทย  เมื่อวันที่  18  กันยายน
            พ.ศ. 2458 จวบจนถึงวันนี้ เรื่องราวของผู้คนในองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยถูกบันทึกไว้ตามโอกาสวาระสำาคัญ
                   การจัดทำาหนังสือที่ระลึกครบรอบการสถาปนาองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทย  มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2477  หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  “อภิวัฒน์สยาม”  ปี  พ.ศ.  2475
            โดยการจัดรูปแบบองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยในสมัยนั้น อยู่ในรูปแบบของ Audit Council หรือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หลวงดำาริอิศรานุวรรต ได้เรียบเรียงประวัติคณะกรรมการ
            ตรวจเงินแผ่นดินไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 และจัดทำาเป็นรูปเล่มเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวในงานพระราชพิธีกฐินพระราชทานซึ่งในปีนั้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับพระราชทานกฐิน
            ณ วัดส้มเกลี้ยง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดราชผาติการาม
                   อย่างไรก็ดี จากการสืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรายชื่อข้าราชการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ช่วงปี พ.ศ. 2476-2495 นั้น รายชื่อทั้งหมดปรากฏในเอกสารชั้นต้น
            โดยเฉพาะรายชื่อข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ทำาหน้าที่เป็น  “สายตรวจ”  ตามหน่วยรับตรวจต่าง  ๆ  ต่อมาในปี  พ.ศ.  2518  สำานักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ได้เรียบเรียง
            ประวัติศาสตร์สำานักงานอีกครั้ง  ในโอกาสที่สำานักงานฯ  ครบรอบ  60  ปี  น่าสนใจว่า  หนังสือเล่มดังกล่าวนับเป็น  “ลายแทง”  ทางประวัติศาสตร์ให้ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์การ
            ตรวจเงินแผ่นดินไทยรุ่นหลังได้เข้าไปศึกษาค้นคว้า หนังสือเล่มนี้ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน คือ นายประยูร ศรียรรยงค์ อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ท่านเป็น “ลูกหม้อ”
            องค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยที่มีความรักและภาคภูมิใจในการทำาหน้าที่คนตรวจเงินแผ่นดิน
                   ในปี  พ.ศ.  2530  เนื่องในโอกาสที่สำานักงานตรวจเงินแผ่นดินครบรอบ  72  ปี  ภารกิจการเรียบเรียงข้อมูลประวัติศาสตร์ตกมาถึงท่านผู้ช่วยธรรมรัฐ  หรือ  นายธรรมรัฐ
            ณ ระนอง อดีตผู้ช่วยผู้อำานวยการสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน ท่านผู้ช่วยธรรมรัฐฯ นับเป็นหนึ่งในบรรพชนคนตรวจเงินแผ่นดินที่สร้างคุณูปการหลายเรื่องในการศึกษาประวัติศาสตร์
            การตรวจเงินแผ่นดิน โดยเฉพาะการเรียบเรียงข้อมูลประวัติศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดินอย่างเป็นระบบ การสืบค้นเกร็ดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการบันทึก
            เรื่องราวไว้ให้ข้าราชการรุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสต่อยอดค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม หนังสือครบรอบ 72 ปี การสถาปนาสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
            การตรวจเงินแผ่นดินไทยชิ้นสำาคัญ  นอกเหนือจากการรวบรวมข้อมูล  ต่อภาพการตรวจเงินแผ่นดินไทยอย่างเป็นระบบแล้ว  การจัดทำาทำาเนียบข้าราชการสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
            ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในปีดังกล่าว
                   การถ่ายภาพหมู่รวมของข้าราชการ  สตง.  ครั้งแรกในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.  2530  โดยก่อนหน้านี้  ธรรมเนียมการถ่ายภาพหมู่ข้าราชการ  สตง.  ถ่ายไว้เฉพาะ
            กลุ่มของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งจากการสืบค้น พบว่า ภาพถ่ายแรก คือ ภาพถ่ายของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินชุดแรกที่ถ่ายร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. 2477 ภาพถ่ายดังกล่าว
            ถ่ายไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร บริเวณวัดพระแก้ว คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินชุดต่อ ๆ มาจึงมาถ่ายภาพหน้าปราสาทพระเทพบิดร จนกลายเป็นธรรมเนียมภายในองค์กร
                   ปี  พ.ศ.  2530  เป็นปีสำาคัญอีกปีหนึ่งขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทย  เนื่องจากมีการย้ายสถานที่ทำาการตรวจเงินแผ่นดินจากศาลาลูกขุนใน  มายังหมู่ตึกอาคารภายใน
            กระทรวงการคลัง ถนนพระรามหก ซอยอารีย์สัมพันธ์ ด้วยเหตุนี้ภาพในหนังสือที่ระลึก 72 ปี จึงเต็มไปด้วยภาพประวัติศาสตร์ที่รำาลึกถึงบรรยากาศการทำางานภายในศาลาลูกขุนใน
                   ปี  พ.ศ.  2538  เนื่องในวาระครบรอบ  80  ปี  การสถาปนาสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน  สำานักงานตรวจเงินแผ่นดินได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            ภูมิพลอดุลยเดช  ในหลวงรัชกาลที่  9  ที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท  “เพราะเงินแผ่นดินนั้น  คือ  เงินของประชาชนทั้งชาติ”  ปีดังกล่าวเป็นอีกปีที่มีการจัดทำาหนังสือที่ระลึก





                                                                                                                                       ทำ�เนียบคนตรวจเงินแผ่นดิน ปีที่ 108  302
   298   299   300   301   302   303   304   305   306