Page 99 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 99

๗.๑๑.๖ การพัฒนากลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการสาธารณะและการตรวจสอบภาครัฐ
                                ๑) จัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๖๒

              รวม ๑๒ ครั้ง โดยครั้งที่ ๑๒ จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ภายใต้หัวข้อ “ส่งเสียง ออกไอเดีย ปรับโฉมภาครัฐ

              ให้ตอบโจทย์ตรงใจ” ได้ข้อเสนอที่น่าสนใจ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปด าเนินการขับเคลื่อนแล้ว เช่น
              การยกระดับสายด่วนและเว็บไซต์ ๑๑๑๑ รับเรื่องร้องเรียนและให้การช่วยเหลือประชาชน โดยการพัฒนาระบบ

              หลังบ้านของ ๑๑๑๑ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และการน าระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial

              Intelligence: AI) มาคัดกรองเรื่องร้องเรียนและติดตามสถานะการจัดการเรื่องร้องเรียน
                                ๒) จัดโครงการยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อศึกษาและก าหนด

              กรอบแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ โดยระยะที่ ๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.
              ๒๕๖๕ เป็นการด าเนินการศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะของไทย การหาตัวแบบ

              ความส าเร็จจากต่างประเทศ ระยะที่ ๒ การคัดเลือกหน่วยงานตัวอย่างเพื่อด าเนินโครงการทดลองตัวแบบ
              และเครื่องมือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะ (Service Design Lab) ระยะที่ ๓ การพัฒนา

              แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดเลือกองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อร่วมจัดท าบริการสาธารณะกับหน่วยงานภาครัฐ

              และระยะที่ ๔ การจัดท าแผนปฏิบัติการรัฐบาลที่เปิดรับการมีส่วนร่วม (Open Government Action Plan) เพื่อเป็น
              การวางกรอบแนวทางการยกระดับและเร่งรัดการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐของไทยที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม

              ของประชาชนในเชิงรุก โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกรอบความร่วมมือ

              ว่าด้วยหุ้นส่วนรัฐบาลที่เปิดรับการมีส่วนร่วม (Open Government Partnerships: OGPs)
                       ๗.๑๑.๗ การปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย เพื่อเอื้อต่อการท าธุรกิจและการใช้ชีวิตประจ าวัน

                                ๑) ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอ านวยความสะดวกต้นทุนค่าใช้จ่าย

              กฎหมาย กฎ และระเบียบต่าง ๆ ของภาครัฐ ได้พัฒนาระบบกลางด้านกฎหมาย (Law Portal) โดยมีกฎหมายเข้าสู่
              ระบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นและประเมินผลสัมฤทธิ์ จ านวน ๓๐๑ ฉบับ จาก ๘๓ หน่วยงาน และมีผู้เข้าเยี่ยมชม

              เว็บไซต์สะสม จ านวน ๓๒๒,๗๒๐ ครั้ง
                                ๒) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายบ าเหน็จบ านาญแห่งชาติ พ.ศ. ....

              ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นแนวทางการพัฒนาระบบบ าเหน็จบ านาญให้ครอบคลุมผู้พ้นวัยท างานทั้งหมด

              และเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับระบบบ าเหน็จบ านาญของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้นโยบายด้านบ าเหน็จบ านาญ
              เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

                                ๓) การประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
              เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นกฎหมายกลางที่ท าให้หน่วยงานภาครัฐต้องน าวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

              ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและการให้บริการประชาชน

                                ๔) การทบทวนและจัดท าแนวทางปรับปรุงพระราชบัญญัติการอ านวยความสะดวก
              ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ หลังจากที่มีผลบังคับใช้ครบ ๕ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับ

              สภาพสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป








               รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
               รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
                                                                                                          95
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕)                                                            ๙๕
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104