Page 48 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ ๓ เดือน ธันวาคม ๒๕๖๕
P. 48

ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรท�าทั้งสิ้น คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จ�ากัดที่วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ
           ข้อจ�ากัดใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจเป็น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคมเท่านั้น กิจกรรม

           อาสาสมัครเป็นกระบวนการของการฝึก “การให้” ที่ดีเพื่อขัดเกลาละวางตัวตน และบ่มเพาะความรัก ความเมตตา
           ผู้อื่น โดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ กระบวนการของกิจกรรม ซึ่งเป็นการยอมสละตน เพื่อรับใช้และช่วยเหลือแก้ไขวิกฤติ
           ปัญหาของสังคม อาสาสมัครจะได้เรียนรู้ละเอียดอ่อนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวมากขึ้น สัมผัสความจริง เชื่อมโยงเหตุ

           และปัจจัยความสุขและความทุกข์ เจริญสติในการปฏิบัติงานที่ศาสนาพุทธ เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา
           กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เพื่อให้เกิด “การให้” ที่ดี กิจกรรมอาสาสมัคร จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคล
           ได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ ที่ผ่านมาคนไทยอาจเคยชินกับการท�าความดีด้วยการใช้เงิน

           ลงทุนในการท�าบุญไม่ค่อยอยากออกแรงช่วยเหลือ เพราะถือว่า การท�าบุญกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผู้มีบุญบารมี
           จะท�าให้คน ๆ นั้นได้บุญมากขึ้น คนไทยจึงมักท�าบุญกับพระ บริจาคเงินสร้างโบสถ์ แต่ละเลยการ “ช่วยเหลือ
           เพื่อนมนุษย์” ไม่ง่ายนักที่จะท�าดีให้ได้ดีกับผู้รับจริง ๆ “ประชาสังคม” หมายถึง สภาพสังคมที่มีองค์ประกอบ

           อันหลากหลาย มีฐานมาจากประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม องค์กร ชมรม สมาคม มูลนิธิมาสร้างเป็น
           เครือข่าย เพื่อท�ากิจกรรมต่าง ๆ ผลักดันให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ความส�านึกในเรื่อง

           “ประชาสังคม” มีมานานแล้วในสังคมตะวันตก คือ ความรู้สึกว่าเราไม่สามารถจะมีความสุขได้ถ้าเราปล่อยปละ
           ละเลยสังคม ความรู้สึกว่าเราต้องรับผิดชอบต่อสังคม ตรงนี้เป็นคุณธรรมของประชาสังคม และเป็นวัฒนธรรมของ
           สังคมอเมริกัน คนจ�านวนมากไม่ศรัทธาในศาสนา แต่ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม อย่างน้อยต้อง

           อุทิศเงินเพื่อกิจการสาธารณะ เขามีส�านึกเรื่อง “จิตสาธารณะ” และฝรั่งเขาถือว่าถ้ารวยต้องช่วยสาธารณะ
           หรือถ้าว่างเสาร์อาทิตย์ก็ไปเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ เรื่องสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในญี่ปุ่นมีคน

           ประเภทนี้เยอะ เราไปเที่ยวก็ขอไกด์ฟรีได้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านมาเป็นอาสาสมัคร ทั้งวันบางทีเขายังจ่าย
           ค่าอาหารให้ด้วย เขามีความสุขเพราะรู้สึกว่าเป็นเมืองของเขา เขาอยากช่วยเหลือสังคม ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทย
           ที่รู้สึกว่าสังคมไม่ใช่ของเรา ความรู้สึกว่าป่าต้นน�้า ภูเขา หรือโทรศัพท์สาธารณะเป็นของเรามีน้อยมาก คนไทย

           จะเน้นเรื่องรัฐมากกว่าสังคม ท�าให้รู้สึกว่าทรัพย์สินส่วนรวมเป็นของรัฐไม่ใช่ของส่วนรวม เขาถึงบอกว่ารัฐบาล
           “คอร์รัปชัน” ก็ไม่เป็นไร ขอให้เอาเงินมาลงในหมู่บ้านก็แล้วกัน เหมือนดั่งนโยบายประชานิยมของรัฐบาล
           ก่อน ๆ ที่สร้างนิสัยการใช้เงินในสิ่งที่ไม่จ�าเป็นให้กับประชาชนจากเงินที่หว่านลงไปทุกหมู่บ้าน เพราะเขาคิดว่า

           งบประมาณแผ่นดินไม่ใช่ของเราเป็นของรัฐบาล จึงเห็นได้ว่า ความคิดเรื่องประชาสังคมในเมืองไทยยังไม่มี
           การท�ากิจกรรมกับชมรมฯ ไม่ว่าด้วยแรงจูงใจใด ๆ ในช่วงเริ่มต้น หากต่อมาขาดซึ่งความรักในสิ่งที่ท�าด้วย
           “จิตอาสา” ในเวลาต่อมาแล้วไซร้ ผลงานที่ออกมาก็เป็นเพียงสิ่งที่เราท�าสนุก ๆ เพื่อฆ่าเวลาที่ไม่รู้ว่าจะท�าอะไร

           เท่านั้น ไม่มีคุณค่าอันใด เพื่อสร้างจิตวิญญาณและพัฒนาจิตส�านึก เพื่อสังคมในตัวเรา สิ่งที่เราได้จากการท�า
           กิจกรรมนั้นมีมากมายเหลือคณานับ อยู่ที่คน ๆ นั้นที่จะไขว่คว้าเอง เพื่อให้ได้มาตามที่ใจปรารถนาเท่านั้น

























                                      วารสาร  จิต  อาสา 44    ฉบับที่ 3 เดือน ธันวาคม ๒๕๖5
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53