Page 61 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 61
1.2 การได้รับการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัย หมายถึง กลุ่มสงสัยป่วย
โรคเบาหวาน ได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคส
หลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการ
สาธารณสุข โดยสามารถตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยได้ตั้งแต่ 1 วันถัดไป
หลังจากวันที่คัดกรองและเป็นผู้สงสัยป่วยเบาหวาน (ภายใน 180 วัน)
ตามแนวทางเวชปฏิบัติส�าหรับโรคเบาหวาน
หมายเหตุ : ผู้ที่สงสัยป่วยเบาหวานต้องได้รับการตรวจติดตามวินิจฉัย
ภายใน 1-180 วัน โดยไม่ต้องเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อน
เกณฑ์เป้าหมาย :
ปีงบประมาณ 66 ปีงบประมาณ 67 ปีงบประมาณ 68 ปีงบประมาณ 69 ปีงบประมาณ 70
≥ร้อยละ 70 ≥ร้อยละ 72 ≥ร้อยละ 74 ≥ร้อยละ 76 ≥ร้อยละ 78
วัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันว่ากลุ่มสงสัยป่วยมีค่าระดับน�้าตาลในเลือดสูงจริง และส่งต่อพบแพทย์
เพื่อรับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับการคัดกรองว่าเป็นกลุ่ม
สงสัยป่วยเบาหวาน
หมายเหตุ : ประชากรในเขตรับผิดชอบ หมายถึง ผู้มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านใน
เขตรับผิดชอบและอยู่จริง (typearea 1) ผู้อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ทะเบียน
บ้านอยู่นอกเขต (typearea 3) และ PERSON.DISCHARGE =“9”(ไม่จ�าหน่าย)
PERSON.NATION =“099” (สัญชาติไทย)
วิธีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกผ่านโปรแกรมพื้นฐานของหน่วยบริการ และส่งออกข้อมูลตามมาตรฐาน
ข้อมูล 43 แฟ้ม เข้าระบบ Health Data Center (HDC) On Cloud
แหล่งข้อมูล ระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข
รายการข้อมูล 1 A = จ�านวนประชากรสงสัยป่วยโรคเบาหวานอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ
ได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร
มากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข
โดยสามารถตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยได้ตั้งแต่ 1 วันถัดไป หลังจากวันที่คัด
กรองและเป็นผู้สงสัยป่วยเบาหวาน (ภายใน 1-180 วัน) ตามแนวทางเวชปฏิบัติ
ส�าหรับโรคเบาหวาน
รายการข้อมูล 2 B = จ�านวนประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบที่ได้รับการคัดกรองโรค
เบาหวานและเป็นกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน
สูตรค�านวณตัวชี้วัด (A/B) x 100
ระยะเวลาประเมินผล 12 เดือน
ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ 49 NCD
พ.ศ.�2563-2566