Page 41 - สรุปสาระสำคัญ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
P. 41

- 38 -

                    ประเทศ                                   ตัวอย่างสาขาบริการ
                นิวซีแลนด์      - บริหารจัดหาและสรรหาบุคลากร
                                - บริการเสริมของการขนส่งทางอากาศ อาทิ บริการซ่อมและบ ารุงรักษาอากาศยาน บริการ

                                คลังสินค้า บริการสัมภาระ บริการบริหารจัดการสนามบิน บริการตัวแทนจัดเก็บสินค้า
                                บริการลานจอดในอากาศยาน และบริการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อการขนส่งทางอากาศ (ยกเว้นที่
                                เกี่ยวกับการป้องกันและการดับเพลิง)


               ภาคผนวก 3 ตารางข้อสงวนและมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีส าหรับบริการและการลงทุน
                     3.1 การเปิดเสรีการลงทุนของไทย
                         3.1.1 ไทยเปิดเสรีให้แก่นักลงทุนของภาคีในการประกอบธุรกิจในสาขาย่อยต่าง ๆ ภายใต้ ๔ สาขาที่
               ไม่ใช่บริการ (non-service sectors) ได้แก่ การเกษตร ประมง เหมืองแร่ และการผลิต โดยไม่เปิดเสรีป่าไม้ใน

               ความตกลงฉบับนี้ โดยไทยได้ระบุให้นักลงทุนของภาคีสามารถเข้ามาลงทุนและถือหุ้นได้ ดังนี้
                                1) ไม่เกินร้อยละ 49 – สาขาการเกษตร 2 สาขาย่อย (การเพาะพันธุ์เมล็ดหัวหอมใหญ่ และ
               การเลี้ยงโค กระบือ ม้า แพะ แกะ) สาขาเหมืองแร่ 2 สาขาย่อย (การท าเหมืองหินอ่อนและการผลิตน้ ามันและ

               ก๊าซ โดยต้องได้รับสัมปทานจากรัฐบาล)
                                2)  ไม่เกินร้อยละ 51  - สาขาประมง  2 สาขาย่อย (การเพาะเลี้ยงปลาทูน่าในกระชังน้ าลึก
               และกุ้งมังกร 6 สายพันธุ์)
                                3) ร้อยละ 100  – สาขาการผลิต 23  สาขาย่อย ได้แก่ การผลิตรถยนต์ สิ่งทอ (ยกเว้นผ้า

               ไหม) ผลิตภัณฑ์พลาสติก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ส านักงาน โทรทัศน์ วิทยุและเครื่องรับ การผลิตหุ่นยนต์
               ส าหรับอุตสาหกรรม การผลิตอุปกรณ์เคเบิ้ลและลวดที่หุ้มฉนวน การผลิตอุปกรณ์ส าหรับต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
               และการผลิตผลิตภัณฑ์จากนม แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง มักกะโรนี และอาหารแปรรูป
                         3.1.2 ไทยได้สงวนมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ไทยยังคงใช้มาตรการเหล่านั้นได้ หรืออาจมีการปรับใน

               อนาคต เช่น 1) มาตรการที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศตามรัฐธรรมนูญ 2) มาตรการในเรื่อง
               การถือครองและการใช้ที่ดิน 3) มาตรการระดับท้องถิ่น 4) มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในรูปแบบ
               หลักทรัพย์ (Portfolio Investment) 5) มาตรการเพื่อป้องกันความผันผวนของค่าเงิน 6) มาตรการเกี่ยวข้องกับ
               ชนกลุ่มน้อย 7) สาขาการลงทุนใหม่ ๆ 8) มาตรการภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

               พ.ศ. 2542  ในเรื่อง (1) ความมั่นคงและปลอดภัย และ (2) การขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองและการ
               ก าหนดเงินทุนขั้นต่ าในการประกอบธุรกิจ 9) การก าหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและ 10) การลงทุนในภาค
               บริการ นอกจากนี้ ไทยสงวนสิทธิในการปรับเพิ่ม แก้ไข มาตรการในรายการข้อสงวนด้านการลงทุนของไทยได้ใน

               ระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับกับรายการข้อสงวนของไทย โดยมาตรการดังกล่าวเป็น
               มาตรการที่มีอยู่ในวันที่ความตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
                         3.1.3 (๑) ไทยผูกพัน Ratchet โดยจะมีผลผูกพันในอีก 5 ปี หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ
               ใน 11 สาขาย่อย อาทิ การผลิตไพ่ การผลิตบุหรี่ การเพาะพันธุ์เมล็ดหัวหอมใหญ่ การเลี้ยงโค กระบือ ม้า แพะ
               แกะ ทั้งนี้ หากไม่มีการแก้ไขมาตรการดังกล่าวในอนาคต เท่ากับว่า ไทยได้ผูกพันเท่ากับมาตรการหรือกฎหมาย

               ปัจจุบันโดยไม่ได้มีการผูกพันเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด และ (๒) ไทยผูกพัน MFN ส าหรับความตกลงที่ไทยจัดท า
               ในอนาคต ใน 3 สาขา คือ การเกษตร (เฉพาะปศุสัตว์) การผลิต และเหมืองแร่ ทั้งนี้ ไทยไม่ขยายสิทธิ MFN
               ส าหรับความตกลงที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน และความตกลงที่ไทยจะจัดท าในอนาคตในสาขาการเกษตร (ยกเว้นสาขา

               ปศุสัตว์) ประมง และป่าไม้ โดยไม่รวมการให้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าทั้งในความตกลงระหว่างประเทศสมาชิก
               อาเซียนด้วยกัน และความตกลงในกรอบอาเซียนทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและความตกลงในอนาคต
   36   37   38   39   40   41   42   43   44