Page 11 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 76 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
P. 11

ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต
                                                                      ผู้อ�านวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                                    ChatGPT-4





                                                                   กับวิชาชีพวิศวกร







                                                               บทน�า


                                                                 การเปิดตัวแพลตฟอร์ม ChatGPT ของบริษัท OpenAI เมื่อ
                                                               เดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ลองใช้นั้น
                                                               ได้สร้างความตื่นเต้นกันในหมู่ผู้ใช้ ในความสามารถอย่างน่า

                                                               อัศจรรย์ของ ChatGPT ในการเขียนสื่อสารกับผู้ใช้งานอย่าง
                                                               เป็นธรรมชาติเฉกเช่นมนุษย์ จึงเป็นที่โจษจันกันว่า นี่คือการ
                                                               ส่งสัญญาณว่า “โลกได้เข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้ว” และ
                                                               ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI หลายคนได้แสดงความเป็นห่วงในผล
                                                               กระทบที่ก�าลังจะตามมาต่อวิถีชีวิตมนุษยชาติในด้านต่าง ๆ






              ChatGPT รุ่นล่าสุด คือ ChatGPT-4 ท�าหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้มนุษย์สามารถ
            สื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติกับ “GPT-4” ซึ่งเป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language
            Model) ที่ได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลทางภาษาจ�านวนมหาศาลจากหนังสือ บทความ และ
            แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
              การเปิดตัว ChatGPT-4 จึงถือเป็น “ตัวเปลี่ยนเกม” เพราะเป็นครั้งแรกที่มนุษย์น�า

            เทคโนโลยี AI จากห้องปฏิบัติการ มาให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจ�าวัน ซึ่งไม่ต่างกับ
            โมเมนต์ที่มีการน�าเทคโนโลยีไฟฟ้ากระแสสลับออกมาใช้นอกห้องปฏิบัติการ Dr. Andrew
            Ng ศาสตราจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญ AI เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ พ.ศ.
            2550 ว่า “AI คือ ไฟฟ้าตัวใหม่ (AI Is the New Electricity)” โดยชี้ว่า ในช่วง 100 ปี
            จากนี้ไป AI จะพลิกโฉมสังคมมนุษยชาติจากหน้ามือเป็นหลังมือ ยิ่งกว่าการค้นพบไฟฟ้าที่
            ได้พลิกโฉมโลกมาแล้วในศตวรรษที่ผ่านมา ในช่วงเวลานี้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ต่างเห็นพ้อง

            ต้องกันว่า มนุษยชาติก�าลังยืนอยู่บนจุดเริ่มต้นของ “เส้นทางเดิน” ในภูมิทัศน์ที่ไม่ธรรมดา
            โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคาดว่าโปรแกรมใช้งาน (plugin & API) ที่หลากหลายก�าลังจะ
            ถาโถมตามมา ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในมิติต่าง ๆ ให้แก่ ChatGPT-4 ในเร็ววันนี้ (รูปที่ 1)
            การนับถอยหลังสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งส�าคัญได้เริ่มต้นแล้ว ความมหัศจรรย์
            อันท้าทายของ AI ที่เคยถูกคาดเดาในอดีตก�าลังก่อตัวขึ้นมาให้สัมผัสอย่างต่อเนื่อง

              ในหมู่นักวิชาชีพ วิศวกรมักเป็นผู้บุกเบิกและตอบรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะน�ามาช่วย
            การปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ดังนั้นในช่วงที่เทคโนโลยี
            GPT และคู่แข่งอีกหลายรายก�าลังบ่มเพาะตัว เหล่าวิศวกรหัวก้าวหน้าควรเตรียมพร้อม
            เพื่อสามารถน�า “ไฟฟ้าใหม่” มาขับเคลื่อนวิชาชีพวิศวกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ

                                                                                                    วิศวกรรมสาร  11
                                                                                       ปีที่ 76 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16