Page 8 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 8
การระบุหัวข้อที่มีสาระสำาคัญ (Identification) 102-46
ฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมนำาประเด็นความยั่งยืนที่สำาคัญในปี 2561 มาพิจารณาทบทวนโดยพิจารณาภายใต้หลักการบริบท
ความยั่งยืน (Sustainability Context) เทียบเคียงกับประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร (Relevance GSB Issues) จากรายการเรื่องที่
เกี่ยวเนื่องสำาหรับสถาบันการเงิน (Relevance Financial Issues)
เกณฑ์การพิจารณาคัดเรื่องความยั่งยืนที่เกี่ยวเนื่อง
ข้อกังวลและความคาดหวังที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยากให้กิจการปรับปรุงเร่งด่วน หรือเป็นข้อกำาหนดทางกฎหมาย หรือกรอบ
การดำาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
ผลกระทบที่มีสาระสำาคัญจากการดำาเนินงานของกิจการหลัก รวมถึงมีขอบเขตผลกระทบตามบริบทเชิงภูมิศาสตร์
กลยุทธ์ระยะยาวขององค์กร ความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่สำาคัญขององค์กร
การขยายผลที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
การนำาไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV)
การจัดลำาดับความสำาคัญ (Prioritization)
ฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ได้พิจารณากลั่นกรองประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง และจัดลำาดับ
ความสำาคัญภายใต้หลักการความเป็นสารัตถภาพ (Materiality) ผ่านเกณฑ์การพิจารณาภายใต้ 2 มุมมอง คือ ระดับอิทธิพลต่อการประเมิน
และตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย (Influence on Stakeholder Assessments and Division) และระดับนัยสำาคัญของผลกระทบทางเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และสังคมขององค์กร (Significance of the Organization’s Economic, Environmental and Social Impacts)
การตรวจสอบความครบถ้วน (Validation)
คณะผู้บริหารระดับสูงได้พิจารณาทวนสอบความครบถ้วนของหัวข้อที่มีสาระสำาคัญ ซึ่งเป็นไปตามหลักการความสมบูรณ์ (Completeness)
โดยพิจารณาถึงชุดประเด็นที่มีนัยสำาคัญ (Material Topics) ขอบเขตของผลกระทบในแต่ละประเด็น (Topics Boundary) และรอบเวลา (Time)
เพื่อนำาไปเป็นแนวทางในการวางแผนการดำาเนินงานด้านความยั่งยืนพร้อมทั้งนำาแนวทางการระบุประเด็นความยั่งยืนที่สำาคัญไปเชื่อมโยงกับ
ยุทธศาสตร์การดำาเนินงานของธนาคารทั้ง 4 ด้าน เพื่อควบรวมประเด็นความยั่งยืนที่อยู่ในยุทธศาสตร์ด้านเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเพื่อนำามากำาหนด
เนื้อหาการรายงานในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธนาคาร
การทบทวนประเด็นความยั่งยืนที่สำาคัญ (Review)
ธนาคารออมสินจัดให้มีการทบทวนกระบวนการจัดทำาและเปิดเผยข้อมูลในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านช่องทางที่หลากหลาย
รวมไปถึงจัดทำาแบบสำารวจความคิดเห็นของผู้อ่านแนบท้ายเล่ม เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อแนวทาง
การดำาเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารออมสินจะรวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับมาใช้เพื่อปรับปรุง
เนื้อหาและรูปแบบการเปิดเผยผลการดำาเนินงานด้านความยั่งยืนในรายงานฉบับต่อไป
10 ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม