Page 54 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ ๒ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔
P. 54

จิตอำสำ


                                                       ตำ�รวจภูธรภ�ค ๗




                      ในยุคที่ผู้คนต่างไขว่คว้าหาความสุขและความส�าเร็จ คนส่วนใหญ่มักโฟกัสที่เป้าหมายและความต้องการ
               ของตัวเองเป็นหลัก จนอาจหลงลืมว่ายังมีผู้คนอีกมากมายในสังคม เรามองหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
               และก�าลังเอาเปรียบผู้อื่นหรือเปล่า เรามองเห็นคุณค่าของผู้คนที่อยู่รอบๆ ตัวเราบ้างหรือเปล่า อาจจะเป็นค�าถาม
               ที่ไม่ต้องให้ใครมาช่วยตอบ เพียงแต่คุณลองทบทวนดูว่าทุกวันนี้ตัวของคุณเองเคยมองดูคนรอบข้าง

               คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันบ้างหรือเปล่า
                     บางครั้งการละสายตาจากตัวเองบ้างก็อาจช่วยให้เรามองเห็นผู้อื่นและหยิบยื่นสิ่งดีให้แก่กัน ซึ่งช่วยให้

               สังคมงดงามและเติบโต เมื่อสังคมเรามีทั้ง “ผู้ให้” และ “ผู้รับ” พื้นที่แห่งนี้จะมีแต่ความเกื้อกูลและความสุข
               มากขนาดไหนสังคมเติบโตด้วยการมอบความรู้
                     ทรัพย์สมบัติอย่างหนึ่งที่คนทุกคนมีอยู่ติดตัวก็คือ องค์ความรู้ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ได้โอกาสเรียน

               จากสถาบันต่างๆ หรืออาจจะเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรงของแต่ละคน ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถ
               น�าไปต่อยอดสร้างคุณค่าเพิ่มเติมมหาศาลให้กับคนอื่นๆ ได้อย่างไม่รู้จบ

                     การให้องค์ความรู้แก่กัน ไม่ว่าจะต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือแก่สังคมหมู่มาก ก็เป็นความงดงามที่สุดของการให้
               ที่ส่งผลให้พลังแห่งความเกื้อกูลในรูปแบบนี้ยิ่งใหญ่ขึ้น เพราะนั่นคือความยั่งยืน สุภาษิตจีนกล่าวเอาไว้ว่า
               “ถ้าท่านให้ปลากับคนด้อยโอกาส เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมี
               ปลากินไปตลอดชีวิต” นั่นเป็นเหตุผลว่าท�าไม “การให้” ด้วยความรู้จึงหมายถึงความยั่งยืน

                     ทุกวันนี้มีคนตัวเล็กๆ ในสังคมลุกขึ้นมาคืนประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วยความรู้ความสามารถที่ตัวเองมี บางคน
               เข้าไปสอนหนังสือให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยไม่หวังค่าตอบแทนใดๆ เพราะสิ่งที่ได้รับคืนกลับมาทางใจนั้นยิ่งใหญ่
               กว่าค่าจ้าง ที่ส�าคัญคนตัวเล็กเหล่านี้ก็สามารถเป็นแบบอย่าง และสามารถให้คนอื่น ๆ น�าความรู้ไปส่งต่อ

               เป็นดอกผลที่จะท�าให้สังคมงดงามขึ้นได้

               ควำมสุขใจจำกกำรลงแรงและจิตอำสำ

                     “จิตอาสา” อาจจะไม่อยู่ในรูปแบบของการให้ด้วยเงิน แต่ด้วยการเสียสละเวลา และลงแรงเข้าไปช่วย
               ด้วยจิตใจที่เป็นสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งอาจจะไม่จ�ากัด ที่ญาติพี่น้อง เพื่อนพ้อง หรือคนรู้จักเท่านั้น แต่ควรต้อง
               เผื่อแผ่ ดูแลสังคม ดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวร่วมกัน ร่วมสรรค์สร้างสิ่งดี ๆ
               ท�าดีในรูปธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยจิตใจที่เป็นสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้คน นั่นไม่ใช่แค่ประโยชน์เพื่อผู้อื่น

               เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของเรา ไม่ต้องรอให้ใครต้องออกมารับผิดชอบเรื่องใด
               เรื่องหนึ่ง แต่เราจะออกมามีส่วนร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นั่นแหละคือความสุขใจจากการลงแรงอย่างแท้จริง
               ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่แค่ไหน ที่เราชักชวนกันลงมือท�าเป็นเรื่องที่ดีเสมอ มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “การเป็น
               จิตอาสา คือการพาตัวเองเข้าไปอยู่บนเส้นทางแห่งการพัฒนาตัวเอง ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น”



















                                          วารสาร  จิต  อาสา 50    ฉบับที่ ๒ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔
   49   50   51   52   53   54   55   56