Page 103 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 103
“ปกติเวลาทอดผ้าป่า คนส่วนใหญ่จะเอาเงินใส่
ต้นผ้าป่า แต่ที่นี่เราใช้ขยะแทนเงิน คือชาวบ้านจะเอา
ขยะไปกองที่วัด แล้วคณะกรรมการก็จะไปแยกขยะ
แล้วขายขยะกันวันนั้นเลย เงินได้เท่าไหร่ก็มอบให้วัด
ทั้งหมด เท่ากับว่าขยะก็ลดลง วัดก็ได้เงิน คนก็ได้บุญ”
วันเพ็ญ ทะชัย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะ
กรรมการกลุ่มคัดแยกขยะบ้านครึ่งใต้เล่าถึงรูปแบบของ
โครงการขยะออมบุญ นอกจากกิจกรรมนี้ที่เธอเป็น
ฟันเฟืองหลักแล้ว โครงการ “ตลาดนัดขยะ” เป็นอีก
หนึ่งกิจกรรมที่เธอและชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างสม�่าเสมอ
“ทุกวันที่ 5 ของเดือน จะมีกิจกรรมตลาดนัดขยะ
ทุกคนจะน�าขยะมาขายที่ศูนย์ ขายได้เท่าไหร่ก็จะได้รับ
เงินค่าขยะเลย แล้วคณะกรรมการจะน�าขยะที่รับซื้อมา
คัดแยกอย่างละเอียดอีกครั้งก่อนจะน�าไปขาย ซึ่งก�าไร
ที่ได้มา จะน�าไปปันผลให้ชาวบ้านในช่วงสิ้นปี ถือเป็น
โบนัสอีกครั้งหนึ่งด้วย เท่ากับชาวบ้านจะได้เงินทุกวันที่
5 ของเดือนและตอนสิ้นปี วิธีการนี้ท�าขึ้นเพื่อจะได้ไม่มี
ใครน�าขยะไปขายให้กับพ่อค้าข้างนอก”
การท�าขยะให้เป็นเงิน ส่งผลให้คนบ้านครึ่งใต้
หันมาจัดการขยะด้วยตัวเองทุกบ้านทุกครัวเรือน
ที่ส�าคัญขยะได้ท�าให้ทุกคนในชุมชนรวมกันเป็นปึกแผ่น
เมื่อใดก็ตามที่มีงานส่วนรวมของหมู่บ้าน ทุกคนจะมา
รวมตัวและช่วยกันคนละไม้คนละมือจนกระทั่งงาน
ส�าเร็จลุล่วงด้วยดี แต่การจัดการขยะของบ้านครึ่งใต้
ไม่ได้สิ้นสุดเพียงเท่านี้ เพราะยังมีคนนอกที่แอบลักลอบ
มาทิ้งขยะในหมู่บ้านให้ต้องจัดการ
นี่เป็นปัญหาที่ไม่ง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะยาก
หากลงมือท�าจริง
Waste to Wealth ... เงินทองจำกกองขยะ ถอดบทเรียนกำรจัดกำรขยะตำมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน | 101