Page 26 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 26

นอกจากท�าให้ขยะมีมูลค่าเพิ่ม
                                          สร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ชาวบ้านรางพลับ
                                          ยังน�าขยะที่ขายไม่ได้ จ�าพวกขยะแห้งหรือ
                                          เศษอาหาร มาท�าปุ๋ยหมักอินทรีย์ปลูกข้าว
                                          และผักสวนครัวไว้กินเอง ต่อยอดเป็น
                                          เศรษฐกิจหมุนเวียนในหมู่บ้านอีกด้วย


            ทุกวันนี้ คนบ้านรางพลับแทบไม่ต้องเสียเงินซื้อของกิน พวกเขาปลูกข้าวกินเอง
        มีโรงสีข้าวของหมู่บ้าน ขณะที่พืชผักสวนครัวก็ปลูกไว้รอบๆ รั้วบ้าน ข้าวทุกเม็ด ผักทุกต้น
        ล้วนงอกงามจากปุ๋ยที่ท�าจากขยะ

            “เราวางนโยบาย ‘ผักสวนครัวรั้วกินได้’ ขึ้นมา ให้ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวของตัวเอง
        กินในครัวเรือน ด้วยการใช้ปุ๋ยหมักจากขยะ แต่เราจะเน้นไม่ให้แต่ละบ้านปลูกครบทุกอย่าง
        ถ้าขาดอะไรก็ให้ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัย เกิดความสัมพันธ์
        ความรักความสามัคคีขึ้นในชุมชนของเรา”

            วิเชียร โสภา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านวัย 43 ปี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเสาหลักของบ้านรางพลับ
        บอกถึงกุศโลบายที่เขาสอดแทรกเข้าไปในเป้าหมายหลัก จากที่เคยมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
        ในหมู่บ้าน กลับกลายเป็นว่า ทุกวันนี้คนรางพลับรักใคร่กลมเกลียวกัน เวลาไปไหนมาไหน
        ก็ฝากบ้านไว้ให้เพื่อนบ้านดูแลได้ และนี่อาจเป็นรั้วบ้านที่ดีที่สุด ยิ่งกว่าพืชผักสวนครัว
        ที่ปลูกไว้เสียด้วยซ�้า



        24 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31