Page 36 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 36

ปัญหาขยะในจุฬาฯ
            จากการเก็บสถิติพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลิตขยะมากถึง 2,000 ตันต่อปี
        ด้วยขยะจ�านวนมากขนาดนี้ รวมทั้งต้องการจะสร้างจิตส�านึกที่ดีให้กับผู้คนในสถาบัน
        ในเรื่องการจัดการขยะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดท�าโครงการ CHULA Zero
        Waste ขึ้น โดยมีเป้าหมายลดขยะภายในมหาวิทยาลัยให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในสิ้นปี 2564
        หรือ 5 ปีนับจากวันเริ่มโครงการ

            ในช่วงเริ่มต้นโครงการ ดร.สุจิตรา วาสนาด�ารงดี ผู้จัดการโครงการได้เตรียม
        ทีมงานไว้แล้ว วรุณ ซึ่งมีใจอยากท�างานเรื่องขยะเป็นทุนเดิม เมื่อทราบข่าวว่า จะมีโครงการนี้
        เกิดขึ้น จึงไม่รีรอที่จะขอเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานทันที

            “ตอนนั้นเขาหาคนครบแล้ว แต่เราเพิ่งทราบเรื่องทีหลัง ก็เลยเดินเข้าไปขอ ดร.สุจิตรา
        ซึ่งเป็นผู้จัดการโครงการ ท่านก็ยินดีบอกให้มาท�างานนี้ด้วยกัน”

            ปัจจุบัน วรุณหรือที่ผู้คนในจุฬาฯ รู้จักกันในนาม  ‘อาจารย์วิน’ ด�ารงต�าแหน่ง
        ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศ อีกทั้งยังท�าหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ
        โครงการ CHULA Zero Waste ซึ่งบทบาทของชายร่างใหญ่นี้ เปรียบได้กับการเป็นหัวหมู่
        ทะลวงฟัน ท�าหน้าที่ลุยจัดการกับปัญหา และท�าเป้าหมายให้เป็นจริง






























        34 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41