Page 80 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 80
“อะไรที่ใช้เงินซื้อ เราจะใช้ขยะซื้อแทน”
อาจารย์ยุทธพงษ์ วัฒนะลาภา
ประธานมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อมสากล รู้จักกับพีรธรและ
ชาวบ้านในชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ มากว่า
15 ปีแล้ว
อาจารย์เข้ามาช่วยยกระดับกลุ่มซาเล้ง
ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมการจดทะเบียน
รับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชน ทั้งวิทยากรให้ความรู้
การพัฒนาบุคลากร การเพิ่มมูลค่าขยะ ประสานงานศึกษาดูงานทั้งต่างประเทศในประเทศ
รวมทั้งน�าชุมชนต่างๆ ในเครือข่ายมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน
“ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เป็นชุมชนหนึ่งในเครือข่ายมูลนิธิของเรา เป็น 1 ในแหล่งเรียน
รู้ที่น่าสนใจมากๆ เช่นเดียวกับชุมชนที่มีร้านศูนย์บาทพลัสอีก 7-8 แห่ง”
ร้านค้าศูนย์บาทพลัสมีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย
และจังหวัดน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุดรธานี ภาคใต้ที่จังหวัดสตูล แต่ละที่
ล้วนมีความโดดเด่นเก่งกาจแตกต่างกัน
“ร้านภาคเหนือจะโดดเด่นเรื่องสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล ท�าลูกปัด สร้อยคอ
เครื่องประดับต่างๆ เครื่องจักสาน ภาคใต้จะโดดเด่นเรื่องการเกษตร การจัดการขยะ
ทั้งชุมชนและโรงเรียน หน้าที่ของเราคือ น�าพาชุมชนมาพบปะเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน
เพื่อน�าไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ของตัวเอง
เรายังพัฒนาบุคลากรในแต่ละพื้นที่ จัดอบรมอยู่เสมอ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องทิศทาง
ของประเทศและของโลกในเรื่องการจัดการขยะ
เราจะยินดีมาก ถ้าแนวคิดร้านศูนย์บาทพลัสได้รับการขยายผลในวงกว้าง เพราะนี่
คือการจัดการขยะที่ดีมากๆ เมื่อคนเห็นขยะมีคุณค่า เขาก็จะไม่ทิ้ง เมื่อไม่ทิ้ง ก็จะไม่มีขยะ
เกิดขึ้น คุณไม่จ�าเป็นต้องท�าเป็นรูปแบบร้านค้าก็ได้ คุณสามารถเอาไปประยุกต์ตามพื้นที่
หรือสิ่งที่คุณถนัดได้เลย จะเป็นร้านกาแฟศูนย์บาทพลัส ร้านตัดผมศูนย์บาทพลัส หรือ
แหล่งท่องเที่ยวศูนย์บาทพลัส หลักการคือ อะไรที่ใช้เงินซื้อ เราจะใช้ขยะซื้อแทน”
คงจะดีไม่น้อยถ้าแนวคิดของอาจารย์ยุทธพงษ์ ขยายผลไปในหลายๆ
พื้นที่ในประเทศไทย
78 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน