Page 4 - รู้ทันสัญญาณเตือนก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ประกอบการ SME
P. 4
เกี่ยวกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2507 – 2534
สํานักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ในปี พ.ศ.2506 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับโครงการเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งเป็นโครงการ
ที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และได้ดําเนินการจัดตั้งเป็น “สํานักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริม
อุตสาหกรรมขนาดย่อม” (สกอ.) ในเดือนมีนาคม 2507 ภายใต้การกํากับดูแลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทําหน้าที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม และได้เปลี่ยนชื่อ
เป็น “สํานักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม” (สธอ.) แต่เนื่องจาก สธอ. มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ ในการ
ดําเนินงานจึงมีข้อจํากัดในเรื่องแหล่งเงินทุนที่จะต้องอาศัยจากงบประมาณแผ่นดินเพียงแหล่งเดียว การอํานวย
สินเชื่อต่างๆ ถือหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการทั่วไป ทําให้ขาดความคล่องตัวในการดําเนินงาน
พ.ศ. 2534 – 2545
บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
เนื่องจากสถานภาพของ สธอ. มีข้อจํากัดในการระดมทุนและการให้บริการทางการเงิน กระทรวงอุตสาหกรรมและ
กระทรวงการคลัง จึงยกระดับสถานะเป็น “บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม” (บอย.) เพื่อทําให้มีสถานะเป็น
นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 300 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงการ
คลังได้เพิ่มทุนให้กับ บอย.อีกจํานวน 2,500 ล้านบาท พ.ศ. 2534 ยกระดับเป็น บอย. โดยมีทุนจดทะเบียน 300
ล้านบาท พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลัง เพิ่มทุน จํานวน 2,500 ล้านบาท ทําให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้าน
บาท แต่ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเกิดวิกฤตค่าเงิน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนกระทั่งกลายเป็นลูกหนี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เสนอแนวคิดในการยกระดับเป็นธนาคาร โดยร่วมพิจารณาหารือกับ
กระทรวงการคลัง ให้เป็นสถาบันการเงินหลักเพื่อการพัฒนา SMEs
1