Page 296 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 296
สิทธิเด็ก เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ใช้คำว่า “สิทธิติดตัวตั้งแต่กำเนิด” (inherent rights) ดังนั้นเด็กจึงมีสิทธิที่ไม่มีผู้ใด
สามารถไปตัดทอนหรือจำกัดการใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็ก หรือละเมิดสิทธิของเด็กได้
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กำหนดพันธกรณีให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องคุ้มครอง
สิทธิเด็กโดยแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่
1. สิทธิในชีวิตและการอยู่รอด (Right of Survival) อนุสัญญาฯ กำหนดว่า
รัฐภาคีต้องรับรองว่าเด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดที่จะมีชีวิต และต้องประกัน
อย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ให้เด็กสามารถอยู่รอด ปลอดภัยและมีพัฒนาการ และเด็ก
มีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูไม่ว่าโดยบิดา มารดา ญาติพี่น้องหรือรัฐ เพื่อให้อยู่รอด
และเจริญเติบโต มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีเพียงพอ ซึ่งหากครอบครัวไม่สามารถ
จะดำเนินการได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ รัฐต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
สิทธิเด็ก 2.สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) เด็กมีสิทธิ
(Child Rights) ที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองจากการถูกทำร้าย
ทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ ซึ่งรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศหรือการแสวงหา
ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ จากเด็ก
3.สิทธิในการพัฒนา (Right of Development) อนุสัญญาฯ เน้นการเลี้ยงดูเด็ก
โดยบิดามารดาหรือในบางกรณีโดยรัฐ ซึ่งเด็กมีสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่
ที่เพียงพอต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ศีลธรรมและทางสังคม อีกทั้ง
ยังเน้นว่าเด็กมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ
และความสามารถทางร่างกายและจิตใจของเด็กให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม (Right of Participation) อนุสัญญาฯ เน้นถึงสิทธิ
ในการแสดงความคิดเห็นของเด็กโดยเสรีในทุกเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กรวมถึงอิสระ
ในการแสวงหา ได้รับ หรือส่งต่อข้อมูลและความคิดในทุกรูปแบบ และในสื่อทุกประเภท
เด็กมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา สิทธิในการมีส่วนร่วมนี้
หมายรวมถึงสิทธิของเด็กในการชุมนุม การสมาคมโดยสงบ
ความรู้ ความเข้าใจของสาธารณะเกี่ยวกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ปัจจัยที่นําไปสู่
จิตสํานึกสาธารณะ ภัยพิบัติ และสิ่งที่สามารถทําได้โดยลำพังหรือเป็นหมู่คณะเพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด
(Public Awareness) ภัยพิบัติ สามารถเกิดขึ้นได้จากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามสื่อและช่องทางต่าง ๆ
การลงมือปฏิบัติ การร่วมมือของคนในชุมชน รวมถึงการสนับสนุนจากรัฐและผู้นําชุมชน
การเคลื่อนย้ายผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงให้ออกไปจากสิ่งคุกคามหรือสถานที่ประสบภัย
อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
การอพยพแบ่งเป็น 2 ประเภท
การอพยพ การอพยพก่อนเกิดเหตุ – การเคลื่อนย้ายผู้คนที่อาจได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
Evacuation ออกไปสู่สถานที่ที่ปลอดภัยก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติ
การอพยพหลังเกิดเหตุ – การเคลื่อนย้ายผู้คนจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติไปสู่
สภาพแวดล้อมที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่า
291