Page 44 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ ๑ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๕
P. 44
จิตอาสาหรือจิตสาธารณะ
ตำ�รวจภูธรภ�ค 2
“จิตอาสา” หนทางอยู่ร่วมกันในสังคม เริ่มที่คุณ..
การร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริม “จิตอาสา” ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการเรียก “น�้าใจงาม” ของคนไทย
ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง และควรจะต้องดีขึ้นกว่าเดิม เพราะจะไม่จ�ากัดอยู่เฉพาะญาติมิตร เพื่อน หรือคนรู้จัก
เท่านั้น แต่ควรต้องเผื่อแผ่ ดูแลสังคมไทย ดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวร่วมกัน
ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ท�าดีให้เป็นรูปธรรมกันมากขึ้น ไม่เพียงแต่ รอดูว่า ใครจะรับผิดชอบเรื่องอะไร
แต่ควรต้องออกมา มีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยกัน
ในยุโรป หรืออเมริกา ค่านิยมในการเป็นอาสาสมัครมีมานานแล้ว อันเนื่องมาจากแรงผลักดันของ
ศาสนาคริสต์ และความคิดเรื่องประชาสังคมในสังคมตะวันตกที่มีส่วนผลักดันให้เกิดอาสาสมัครอย่างต่อเนื่อง
ยุคแรกของจิตอาสาในไทยมาจากการรวมตัวช่วยเหลือกันในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล ต่อมาเกิดกิจกรรม
ค่ายอาสาพัฒนาตามสถาบันการศึกษา และโดยเฉพาะการเกิดขึ้นของเอ็นจีโอ ท�าให้ความคิดเรื่องการท�างาน
อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมแพร่หลาย เมื่อกล่าวถึง “จิตอาสา” อาจจะเป็นค�าใหม่ที่เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง
ไม่ถึง ๑๐ ปี ผู้น�าค�านี้มาใช้ครั้งแรกในไทย น่าจะเป็นเครือข่ายพุทธิกา ในโครงการ “ฉลาดท�าบุญด้วยจิตอาสา”
ต่อมาค�านี้ได้ถูกน�าไปใช้อย่างแพร่หลาย พระไพศาล วิสาโล ได้ให้ความหมาย..
“จิตอาสา” ว่า คือจิตที่ไม่นิ่งดูดายต่อสังคม หรือความทุกข์ยากของผู้คน และปรารถนาเข้าไปช่วย
ไม่ใช่ ด้วยการให้ทาน ให้เงิน แต่ด้วยการสละเวลา ลงแรงเข้าไปช่วย ด้วยจิตที่เป็นสุขที่ได้ช่วยผู้อื่น จะเน้นว่า
ไม่ใช่แค่ท�าประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของเราด้วย
“จิตอาสา” คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยก�าลังแรงกาย แรงสมอง
ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ให้กับส่วนรวม… อีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือ
ความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง
วารสาร จิต อาสา 40 ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม ๒๕๖5