Page 37 - รายงานประจำปี ๒๕๖๔ กระทรวงวัฒนธรรม
P. 37
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ได้มอบนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและองค์การมหาชนในก�ากับดูแล
ขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ให้เป็นไปตามภารกิจ อ�านาจและหน้าที่
ของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งเกิดประโยชน์ต่อสังคม ประชาชน และประเทศชาติ
ซึ่งมีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ประกอบด้วย
สืบสาน
ประการที่ ๑ ด้านการสืบสานงานวัฒนธรรมของชาติ
๑.๑ ถวายงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยความจงรักภักดีและส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณ
อันหาที่สุดมิได้ เพื่อเทิดทูนและธ�ารงไว้ซึ่งสถาบันอันสูงสุดของปวงชนชาวไทย
๑.๒ ด�าเนินงานตามพระราชด�าริ ส่งเสริมการน�าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่การปฏิบัติเพื่อไปสู่วัฒนธรรมเพื่อคุณค่า และวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า
๑.๓ ท�านุบ�ารุงศาสนาให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนา
ให้มีบทบาทในการเผยแพร่ค�าสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้าง
ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และสังคม
๑.๔ สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของมรดกทางวัฒนธรรม
ด้วยการอนุรักษ์ ท�านุบ�ารุงและบูรณปฏิสังขรณ์แหล่งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดง
และนาฏศิลป์ไทย ตลอดจนการใช้การอนุรักษ์ทรัพยากรและมรดกทางด้านวัฒนธรรม
อย่างรู้คุณค่าโดยชุมชนมีส่วนร่วม
๑.๕ ส่งเสริมศิลปิน ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้น�าจิตวิญญาณ กระตุ้น
ให้น�ารากวัฒนธรรมประจ�าถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน รวบรวมเป็นคลังข้อมูล
เป็นองค์ความรู้ต่อยอดและส่งผ่านวัฒนธรรมของชาติสืบทอดรุ่นสู่รุ่น สู่เยาวชน
ยุคดิจิตอล แบบไร้รอยต่อ
รักษา
ประการที่ ๒ ด้านการรักษาและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม
๒.๑ ส่งเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรบุคคลทางด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคล
ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้น�าจิตวิญญาณ ผู้น�าศาสนา ให้มีส่วนร่วมเป็นแม่พิมพ์ (Role Model) ในการถ่ายทอดภูมิปัญญา องค์ความรู้
๒.๒ ปลุกกระแสความเป็นไทย (Thainess) สร้างจิตส�านึก ส่งเสริมค่านิยมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย ผ่านพื้นที่
และกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ
๒.๓ ผลักดันนโยบายการจัดการพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยมีแนวทางการด�าเนินงานที่ส�าคัญ ได้แก่
๑) ตรวจสอบข้อมูล และส�ารวจพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อจัดท�าแผนการบูรณาการการบริหารจัดการ
พื้นที่มรดกวัฒนธรรม
๒) บูรณาการการบริหารจัดการพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ไข
และป้องกันปัญหาการบุกรุกมรดกวัฒนธรรม และแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์
๓) จัดท�าแผนบูรณาการการบริหารจัดการพื้นที่มรดกวัฒนธรรม รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางมาตรา
เพื่อประโยชน์ในการจัดการพื้นที่ และเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนที่บุกรุกพื้นที่มรดกวัฒนธรรมโดยไม่ตั้งใจ
๔) น�าแผนบูรณาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกวัฒนธรรม ด้านการแก้ไขปัญหา การบุกรุกมาทดลองปฏิบัติ
รายงานประจำาปี ๒๕๖๔ 37 กระทรวงวัฒนธรรม