Page 25 - รายงานสถานการณ์อนุญาโตตุลาการประจำปี 2564
P. 25

บทวิเคราะห์


                    จากผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Perception Index : API) ระหว่าง
             ปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2563 พบว่า มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.44 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา หลักการและ

             ธรรมชาติของตัวชี้วัดแล้วสามารถจัดกลุ่มประเภทตัวชี้วัดได้ 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่ 1 ตัวชี้วัดที่ ต้องการให้มีปริมาณ
             /ค่าเพิ่มขึ้น เพราะส่งผลให้การดำาเนินการด้านการอนุญาโตตุลาการดีขึ้น และลักษณะที่ 2 ตัวชี้วัดที่ต้องการให้มีปริมาณ

             /ค่าลดลง เพราะส่งผลให้การดำาเนินการด้านการอนุญาโตตุลาการดีขึ้น ดังนี้


                     ลักษณะที่ 1 ตัวชี้วัดที่ต้องการให้มีปริมาณ ลักษณะที่  2  ตัวชี้วัดที่ต้องการให้มีปริมาณ

                     /ค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่                      /ค่าลดลง ได้แก่
                            (1)  อัตราความรับรู้ด้านการอนุญาโต-        (1)  อัตราการเพิกถอนคำาชี้ขาดของ

                     ตุลาการของประชาชนทั่วไป                   คณะอนุญาโตตุลาการ
                            (2) อัตราการบังคับตามคำาชี้ขาดของ          และ (2) ระยะเวลาเฉลี่ยของอนุญาโต-
                     คณะอนุญาโตตุลาการ                         ตุลาการในการพิจารณาคดี

                            (3)  อัตราการแนะนำาให้ใช้กระบวนการ
                     อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท

                            และ (4) ภาพรวมจำานวนคดีอนุญาโต-
                     ตุลาการ


                    ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวชี้วัดที่มีปริมาณ/ค่าเพิ่มขึ้นประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ดังนี้

                           (1) อัตราการเพิกถอนคำาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ
                           (2) อัตราการบังคับตามคำาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

                           (3) อัตราการแนะนำาให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท
                           และ (4) ระยะเวลาเฉลี่ยของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาคดี
                    ซึ่งมี 2 ตัวชี้วัดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการและธรรมชาติของตัวชี้วัดที่ต้องการให้ลดลง ได้แก่ อัตราการเพิกถอน

             คำาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และระยะเวลาเฉลี่ยของ อนุญาโตตุลาการในการพิจารณาคดี สำาหรับกลุ่มตัวชี้วัด
             ที่มีปริมาณ/ค่าลดลงประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ (1) อัตราความรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการของประชาชนทั่วไป

             และ (2) ภาพรวมจำานวนคดีอนุญาโตตุลาการ ซึ่งทั้ง 2 ตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกับหลักการและธรรมชาติของตัวชี้วัด
             ที่ต้องการให้เพิ่มขึ้น จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ ส่งผลให้ดัชนีการรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Perception
             Index : API) มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 0.44 เท่านั้น



             สรุปผลการศึกษา

                    จากผลการวิเคราะห์ดัชนีรวมเพื่อจัดทำาดัชนีการรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย (Arbitration
             Perception Index : API) พบว่า ดัชนีการรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ ปี พ.ศ. 2562 มีค่า เท่ากับ 59.35 และ ดัชนี

             การรับรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ ปี พ.ศ. 2563 มีค่าเท่ากับ 59.61 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปี พ.ศ.2562 ประมาณร้อยละ
             0.44





                                                                                                          13
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30