Page 22 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 22

01           โครงกำรผู้หญิงกับอำชีพ



              ในสำมจังหวัดชำยแดนใต้







           เพ็ญนภา  คงดี  ผู้ประสานงานภาคสนาม  มูลนิธิรักษ์ไทย
           จังหวัดปัตตานี  กล่าวถึงการทำางานส่งเสริมอาชีพกับผู้หญิงในสามจังหวัด

           ชายแดนใต้ว่า จากการที่อยู่ในพื้นที่ทำาให้เห็นปัญหามากมายที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง
           และสิ่งที่ต้องให้ความสนับสนุนเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาควรจะต้องทำา
           เรื่องการส่งเสริมอาชีพ โดยมองว่า สันติสุขจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากคนในพื้นที่
           ยังล�าบากยากจน



           โครงการผู้หญิงกับอาชีพ เริ่มต้นดำาเนินการประมาณปี 2554 ในช่วงนั้นยังไม่ค่อย
           มีองค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนชาวบ้านเรื่องงานอาชีพอย่างจริงจัง หรือถ้ามี
           ก็ไม่ได้คำานึงถึงความต้องการของผู้รับ อย่างเช่น การให้อุปกรณ์ประกอบอาชีพ

           นั้น ภาครัฐมีการส่งมอบอุปกรณ์เป็นจำานวนมาก ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้ารุ่นเก่า
           อุปกรณ์ทำาขนม  เครื่องนวดแป้ง  ตู้อบ  ถ้วยชาม  แต่บางครั้งสิ่งที่เห็นก็คือ
           อุปกรณ์เหล่านั้นยังซีลไว้อย่างดี ไม่เคยถูกนำามาใช้งาน ใช่ว่าชาวบ้านไม่อยากได้
           แต่เพราะทำาไม่เป็น สิ่งของเหล่านั้นจึงไม่ได้ถูกนำามาใช้ให้เกิดประโยชน์



           การทำางานพัฒนาอาชีพกับผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนใต้  ต้องคำานึงถึง
           บริบททางวัฒนธรรมที่อ่อนไหว  อย่างเช่น  ต้องเข้าใจว่าการที่จะให้ผู้หญิง
           ออกมาจากบ้านบ่อย ๆ นั้นอาจถูกมองเป็นเรื่องไม่ดี เจ้าหน้าที่รักษ์ไทยจึงเลือก

           ที่จะเข้าไปหาผู้หญิงเหล่านั้นในชุมชนเอง  เข้าไปจนชาวบ้านรู้จักคนขององค์กร
           พัฒนาเอกชนแห่งนี้ แม้จะไม่เคยเจอหน้ากัน แต่ก็มั่นใจว่าคนกลุ่มนี้ลงไปทำาดี
           ที่สำาคัญเป็นการเข้าไปทำางานกับกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงรัฐ  ไม่ใช่คนมีปากมีเสียง
           ผู้หญิงเหล่านี้เหมือนผู้หญิงหลังห้อง ที่ “รักษ์ไทย” เข้าไปสร้างความยอมรับ

           ให้เกิดขึ้นในชุมชน

        20  ผู้หญิงก้าวเดิน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27