Page 175 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
P. 175
๓) มีเครือข่ายที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรค
ที่องค์กรจัดการเลือกตั้งของแต่ละประเทศสมาชิกกำาลังเผชิญอยู่
๔) มีเครือข่ายที่จะอำานวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะระหว่างองค์กร
จัดการเลือกตั้งที่จะสร้างความเป็นมืออาชีพขององค์กรร่วมกัน
กิจกรรมหลักที่ ๒ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เกี่ยวกับการเลือกตั้ง นวัตกรรม
เทคโนโลยี และสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งและการจัดการด้านการข่าวในการเลือกตั้ง
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีการเลือกตั้ง
และสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงข้อมูลข่าวสารในการเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งกับองค์กรจัดการเลือกตั้ง
ต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒) เพื่อให้พนักงานของสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้
ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศต้นแบบประชาธิปไตย
หรือประเทศที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best practice) เพื่อนำาไปสู่การต่อยอดนำาความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์
และพัฒนาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ต่อไป
๓) เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรจัดการเลือกตั้งต่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผลการด�าเนินงาน
๑) การเดินทางไปดำาเนินกิจกรรม ณ สาธารณรัฐเอสโตเนียและสาธารณรัฐฟินแลนด์
คณะเดินทางประกอบด้วย กรรมการการเลือกตั้ง (นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย) หัวหน้าคณะเดินทาง
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้บริหารและพนักงานของสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
อีกจำานวน ๘ คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการนำาเอานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารมาใช้ในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง การเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ การถ่ายทอด
องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรและเพิ่มศักยภาพของบุคลากร รวมทั้งเป็นการสร้างสัมพันธ์
และความร่วมมืออันดีระหว่างองค์กรจัดการเลือกตั้งต่างประเทศ โดยมีข้อสรุปจากการศึกษาดูงาน ดังนี้
๑.๑) สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถนำาเอาองค์ความรู้ที่ได้รับศึกษาดูงาน
ครั้งนี้ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมการเลือกตั้งของไทย ซึ่งควรเริ่มจากการนำาเอาระบบ
การลงคะแนนเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ต (I-Vote) มาใช้ในการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ โดยมีเป้าหมาย
เพื่ออำานวยความสะดวกประชาชน ประหยัดงบประมาณ และเป็นเครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานของบุคลากร
และหากดูตัวเลขสถิติการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งและจำานวนผู้มาใช้สิทธินอกราชอาณาจักรย้อนหลังที่ผ่านมา
มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกครั้ง จึงเป็นความท้าทายที่จะดำาเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และค่านิยมหลักขององค์กร
๑.๒) ผลการดำาเนินโครงการนำาร่องการจัดทำาระบบการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักรทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (I-Vote) ที่ประเทศนอร์เวย์ ประเทศจอร์แดน
และเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบว่ายังมีประเด็นที่เป็นข้อจำากัดในการดำาเนินการ เช่น ประเด็น
ข้อกฎหมาย การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับ และปัญหาความไม่เสถียรของสัญญาณ ซึ่งปัจจุบัน
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำาให้อุปสรรคที่เกี่ยวกับความเสถียร
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ 147