Page 176 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
P. 176
ของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหาก่อนหน้านี้หมดไป เอื้อต่อการพัฒนาระบบ ดังนั้น สำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งจึงควรเร่งดำาเนินการพัฒนาระบบการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ต (I-Vote) โดยมีเป้าหมาย
ในการนำามาใช้สำาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร หรือนำามาใช้ประโยชน์ในบางกิจกรรม
ของการจัดการเลือกตั้ง เช่น การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง การเพิ่มชื่อ ถอนชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง การรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรมการเลือกตั้งและเพิ่มช่องทาง
ให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป
๑.๓) จากผลการศึกษาดูงานพบว่า แม้สาธารณรัฐเอสโตเนียจะนำาเอาระบบการลงคะแนน
เลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ต (I-Vote) มาใช้ในการเลือกตั้งทั่วทั้งประเทศสำาเร็จได้ แต่การนำาระบบมาใช้นั้น ไม่ได้ช่วยให้
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด มีเพียงยอดของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านระบบ I-Vote เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น
กระบวนการเลือกตั้งยังคงมีการลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งในคูหาเลือกตั้งแบบดั้งเดิมควบคู่กับการส่งบัตรเลือกตั้ง
ที่ลงคะแนนเรียบร้อยแล้วผ่านทางไปรษณีย์ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชน ทำาให้ไม่สามารถใช้ระบบ I-Vote
แต่เพียงอย่างเดียวได้ ดังนั้น ระบบ I-Vote จึงเป็นเพียงช่องทางเลือกเพื่ออำานวยความสะดวกในการลงคะแนนเสียง
ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวให้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น
๑.๔) กระบวนการพัฒนาระบบการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ต (I-Vote) ต้องยึดถือ
ความต้องการของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก การพัฒนาระบบจะต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
(Best Practice) ผ่านมาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยจากคณะทำางานผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการเลือกตั้ง ต้องเน้นการประชาสัมพันธ์เพิ่มการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจแก่
ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการพัฒนานวัตกรรม
๒) การเข้าพบเอกอัครราชทูตไทยประจำากรุงเฮลซิงกิ สาธารณรัฐฟินแลนด์
คณะศึกษาดูงานเข้าเยี่ยมคารวะ นางสาวชวนาถ ทั่งสัมพันธ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ
ณ ทำาเนียบเอกอัครราชทูต เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรของสาธารณรัฐ
ฟินแลนด์ และแนวทางการพัฒนาระบบการเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ต (I-Vote) ของสำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง รวมทั้งรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งและข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่กระทรวง
ยุติธรรม โดยเห็นพ้องตรงกันถึงประโยชน์ของการนำาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้กับการเลือกตั้ง
ในอนาคต เพื่อรองรับการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรของคนไทยที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐฟินแลนด์ ซึ่งมี
สัดส่วนของการลงทะเบียนขอลงคะแนนและการใช้สิทธิลงคะแนนที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี และเป็นการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มคนรุ่นใหม่อีกด้วย
ผลสัมฤทธิ์
• บุคลากรของสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ประสบการณ์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิถีการปฏิบัติอันเป็นเลิศในการบริหารจัดการเลือกตั้งและการออกเสียง
ประชามติกับองค์กรจัดการเลือกตั้งต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจะสามารถนำามาประยุกต์และพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างองค์กรจัดการเลือกตั้งต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
148 รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕