Page 29 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 29
๖.๘ การจัดท าและประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)
รัฐบาลได้จัดท าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) แล้วเสร็จ โดยรัฐสภา
ได้มีมติรับทราบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ และราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ
๒๕๘ ง ได้เผยแพร่ประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๗๐
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เป็นแผนระดับที่ ๒ ที่แปลง
ยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติโดยได้ก าหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปีข้างหน้า บนพื้นฐานของหลักการ
แนวคิดที่ส าคัญ ๔ ประการ ได้แก่ (๑) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๒) แนวคิดการปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์
(Resilience) (๓) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และ (๔) โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ
หมุนเวียน และสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) โดยได้ก าหนดวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ คือ
การ “พลิกโฉม” ประเทศไทย สู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ถือเป็น
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ภาคีทุกภาคส่วนในสังคมไทยทุกระดับได้มีส่วนร่วมด าเนินการ เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) จึงได้ก าหนดเป้าหมาย
หลัก ๕ ประการ คือ (๑) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
สู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (๒) การพัฒนาคนส าหรับโลกยุคใหม่ (๓) การมุ่งสู่
สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม (๔) การเปลี่ยนผ่านการผลิต
และการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และ (๕) การสร้างความสามารถในการรับมือ
กับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยก าหนด
หมุดหมายการพัฒนาประเทศ ๑๓ หมุดหมาย ครอบคลุม ๔ มิติการพัฒนา
ได้แก่
๑) มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วย ๖ หมุดหมาย ได้แก่ หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็น
ประเทศชั้นน าด้านสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ ๒ ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว
ที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ ๓ ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ส าคัญของโลก หมุดหมายที่ ๔
ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ ๕ ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์
ทางโลจิสติกส์ที่ส าคัญของภูมิภาค และหมุดหมายที่ ๖ ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
และอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน
๒) มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย ๓ หมุดหมาย ได้แก่
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมี SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ ๘ ไทยมีพื้นที่และเมือง
อัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ ๙ ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครอง
ทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม
๓) มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๒ หมุดหมาย ได้แก่
หมุดหมายที่ ๑๐ ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ า และ หมุดหมายที่ ๑๑ ไทยสามารถลดความเสี่ยง
และผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
25
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๒๕
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)