Page 52 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 52
๗.๕ นโยบายหลักที่ ๕ การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
รัฐบาลได้รักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายได้
และรายจ่ายภาครัฐ รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน สร้างบรรยากาศส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจและการจับจ่าย
ใช้สอยของภาคครัวเรือน โดยมีผลการด าเนินงานที่ส าคัญ ดังนี้
๗.๕.๑ เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง
๑) ด าเนินนโยบายการเงินการคลัง เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถตอบสนองต่อความผันผวน
ของเศรษฐกิจโลก เช่น ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-๑๙ โดยสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมให้แก่กลุ่มประชาชนฐานรากและผู้ประกอบการรายย่อย
ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ จ านวน ๕.๘๒ ล้านราย เป็นเงิน ๗๕๕,๑๙๒ ล้านบาท ปรับลดโครงสร้างดอกเบี้ย/ลดภาระ
ดอกเบี้ยสินเชื่อ เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจ าน าทะเบียนรถในตลาด จากร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑๖ - ๑๘ ต่อปี
มีผู้ได้รับสินเชื่อ จ านวน ๑.๔๓ ล้านราย เป็นเงิน ๓๑,๖๐๑ ล้านบาท ด าเนินโครงการสินเชื่อต่าง ๆ เช่น (๑) โครงการ
ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชก าหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลือ จ านวน
๙๖๑ ราย วงเงิน ๒,๕๙๑.๔๘ ล้านบาท (๒) โครงการสินเชื่อ SMEs Re - Start มีผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลือ
จ านวน ๑,๑๔๐ ราย วงเงิน ๒,๐๓๒.๖๖ ล้านบาท (๓) โครงการสินเชื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG Loan)
มีผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลือ จ านวน ๒๖๙ ราย วงเงิน ๑,๖๗๐.๖๐ ล้านบาท
๒) ก ากับดูแลวินัยการเงินการคลัง รัฐบาลได้ด าเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง
ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และติดตามก ากับดูแลการด าเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เช่น จัดท ารายงานความเสี่ยง
ทางการคลังประจ าปีงบประมาณ จัดท าแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐)
๓) ปฏิรูปโครงสร้างรายได้ภาครัฐ เช่น จัดท าแผนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) เช่น พัฒนาระบบการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทางอิเล็กทรอนิกส์
(VAT for Electronic Service: VES) มีผู้ประกอบการลงทะเบียนผ่านระบบฯ จ านวน ๑๔๕ ราย ติดตามการเบิกจ่าย
งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในปี ๒๕๖๕ รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนมากกว่า ๓๒๕,๐๐๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
๙๓ ของกรอบลงทุนทั้งปี
๔) ปฏิรูประบบการออม เช่น โครงการส่งเสริมการออม
ผ่านการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) และเผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐแก่ประชาชนทั่วไป โดยจ าหน่ายพันธบัตร
ออมทรัพย์ จ านวน ๒ ครั้ง วงเงินรวม ๕๙,๑๗๕.๐๙๔ ล้านบาท การพัฒนา
แพลตฟอร์มสนับสนุน/ส่งเสริมการปลูกฝังการออม ให้ความรู้ทางการเงิน
และสร้างวินัยทางการเงิน ยกระดับสู่การออมเพื่อวัยเกษียณ หรือการวางแผน
การออมเพื่อการเกษียณ ผ่านเครื่องมือวางแผนทางการเงินบน Mobile
Application (โค้ชออม) มีผู้เข้าใช้งานสะสม จ านวน ๖,๓๖๒ ราย โครงการ
เพิ่มสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ มีสมาชิกสะสม จ านวน ๒.๕๑ ล้านราย
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
48 (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
๔๘