Page 64 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 64
๗.๕.๗ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ
๑) รักษาคลื่นความถี่และสิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติให้เกิด
ประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน และลงทุนในอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 5G
เช่น โครงการเน็ตประชารัฐ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล จ านวน ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้าน
มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด จ านวน ๑๑.๔๒ ล้านคน โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อน
เศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
ระหว่างประเทศสู่การเป็น ASEAN Digital Hub โดยขยายความจุระบบ
เคเบิลใต้น้ าในโครงการสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ า (ASIA Direct Cable :
ADC) ระหว่างประเทศเส้นใหม่ ร่วมกับภาคีสมาชิก ๖ ประเทศ ในภูมิภาค
เอเชียแปซิฟิก โครงการติดตั้งเทคโนโลยี 5G ส าหรับระบบบริหาร
จัดการเมืองอัจฉริยะ (โครงการบ้านฉาง 5G Smart City) ในพื้นที่เทศบาล
ต าบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยการใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี
และสื่อสารโทรคมนาคมอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการให้บริการแก่ประชาชนและบริการสาธารณะ อีกทั้งยังท าให้
การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยได้ด าเนินการติดตั้งเสาอัจฉริยะ
(Smart Pole) การพัฒนา Smart City Mobile Application รวมทั้งระบบ
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นน าในอาเซียน
และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศ การน าร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ ส าหรับ
ให้บริการประชาชน (5G District) จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วน Smart Health ซึ่งเป็นโครงการที่โรงพยาบาลมหาราช
นครเชียงใหม่ โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้น าร่องการพัฒนาแนวทางและประยุกต์ใช้ระบบ
เทคโนโลยี 5G ในการส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์ 5G Smart Ambulance ส าหรับบริหารจัดการรถพยาบาล
แบบรวมศูนย์ และระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ส าหรับโรงพยาบาลประจ าอ าเภอในจังหวัดเชียงใหม่
และโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียงรวม ๒๐ แห่ง
ตลอดจนได้ด าเนินการในนามรัฐเพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม
และด าเนินการให้มีการใช้สิทธิดังกล่าว โดยในปี ๒๕๖๕ ได้ด าเนินการส าคัญ อาทิ (๑) อนุญาตให้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์
แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมขั้นต้น ส าหรับข่ายงานดาวเทียม TSC-P
(NGSO) (๒) ด าเนินการจัดส่งชุดข้อมูลข่ายงานดาวเทียม (Satellite Network Filing) เพื่อแจ้งขอใช้งานข่ายงานดาวเทียม
ในนามประเทศไทยต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)
ประกอบด้วย ชุดข้อมูลขั้น C (Request for coordination) ส าหรับข่ายงานดาวเทียม THAISAT-142E ณ ต าแหน่งวงโคจร
๑๔๒ องศาตะวันออก เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ และชุดข้อมูลขั้น A (Advance Publication Information) ส าหรับ
ข่ายงานดาวเทียม TSC-P (NGSO) เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ และ (๓) ได้มีการประสานงานคลื่นความถี่ในกิจการ
ดาวเทียมกับหน่วยงานภายในประเทศและประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International
Telecommunication Union: ITU) ตามขั้นตอน และกระบวนการประสานงานคลื่นความถี่ในกิจการดาวเทียมที่ก าหนดไว้
ในข้อบังคับวิทยุ (Radio Regulations: RR) เพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมของประเทศไทย
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
60 (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
๖๐