Page 85 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 85

ตัวชี้วัดที่ 20 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต

               ตัวชี้วัด           ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต
               ค�านิยาม            ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน และได้รับ
                                   การขึ้นทะเบียน/ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด
                                   การตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่รับการตรวจภาวะ
                                   แทรกซ้อนทางไต โดยการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ (urine protein) และตรวจเลือด
                                   วัดค่าครีเอตินินในเลือด (serum creatinine) อย่างน้อย 1 ครั้งในปีงบประมาณ
                                   หมายเหตุ :
                                   - ผู้ป่วยเบาหวานจะถือว่าได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต ก็ต่อเมื่อได้รับ
                                   การตรวจทั้ง urine protein และ serum creatinine อย่างน้อย 1 ครั้ง
                                   ในปีงบประมาณเดียวกัน โดยไม่ระบุเวลาระหว่างการตรวจปัสสาวะและเลือด
                                   - การตรวจ urine protein อาจตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ คือ
                                   (1) urine albumin-to-creatinine ratio (ACR) รหัส 0440206
                                   (2) urine protein-to-creatinine ratio (UPCR) รหัส 0440205
                                   (3) microalbuminuria รหัส 0440204
                                   (4) macroalbuminuria รหัส 0440203
                                   - ผู้ป่วยที่มีผลปกติ คือมีผลการตรวจ ดังนี้
                                   (1) ACR < 30 mg/g หรือ
                                   (2) UPCR < 150 mg/g หรือ
                                   (3) Microalbuminuria เป็น 0 หรือ 1 หรือ
                                   (4) Macroalbuminuria เป็น 0 หรือ 1 หรือ
                                   (5) eGFR ≥60 ml/min/1.73 m 2

                                   -ผู้ป่วยที่มีผลผิดปกติและรอการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คือมีผลการตรวจ ดังนี้
                                   (1) ACR ≥ 30 mg/g หรือ
                                   (2) UPCR ≥ 150 mg/g หรือ
                                   (3) Microalbuminuria เป็น 2 หรือ
                                   (4) Macroalbuminuria เป็น 2 หรือ
                                   (5) eGFR < 60 ml/min/1.73 m 2

               เกณฑ์เป้าหมาย       มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
               ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคเบาหวานอาศัยอยู่ในพื้นที่
                                   รับผิดชอบทั้งหมด
               วิธีการจัดเก็บข้อมูล  บันทึกผ่านโปรแกรมพื้นฐานของหน่วยบริการ และส่งออกข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูล
                                   43 แฟ้ม เข้าระบบ Health Data Center (HDC) On Cloud
               แหล่งข้อมูล         ระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข

               รายการข้อมูล 1      A1: จ�านวนผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต
                                   A2: จ�านวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการที่ได้รับการตรวจภาวะ
                                   แทรกซ้อนทางไต
               รายการข้อมูล 2      B1: จ�านวนผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด
                                   B2: จ�านวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด


                                                ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ  73  NCD
                                                                             พ.ศ.�2563-2566
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90