Page 12 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 12

3

                                                              การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ



                                   จากการที่ผู้เขียนได้ท�การศึกษาเรื่อง  การพัฒนารูปแบบ

                              บริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับบริการทางสังคมส�าหรับคน

                              พิการทางการเห็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษารูปแบบความ

                              ร่วมมือในการจัดบริการสุขภาพและสังคมส�หรับคนพิการผ่าน

                              “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป”  ที่ด�เนินการโดยองค์กรภาค

                              ประชาชนและองค์กรคนพิการ พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการ

                              เข้าถึงสิทธิคนพิการมากที่สุด คือ การรับรู้สิทธิคนพิการ ซึ่งจะ

                              ส่งผลต่อความต้องการสิทธิ  และการรับรู้สิทธิคนพิการได้รับ

                              อิทธิพลจากความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง การตระหนักรู้

                              ในตนเอง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า หากคนพิการมีความรู้ความ

                              เข้าใจในการดูแลตนเอง  ตระหนักรู้ในตนเองแล้ว  จะส่งผลให้

                              คนพิการเกิดการรับรู้สิทธิคนพิการ ส่งผลต่อความต้องการสิทธิ

                              คนพิการ และน�ไปสู่การเข้าถึงสิทธิคนพิการ

                                   จากผลวิจัยดังกล่าวจึงน�ไปสู่การทบทวนวรรณกรรม

                              ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อศึกษาแนวคิดที่สามารถท�ให้บุคคลเกิดการ

                              ตระหนักรู้ในตนเอง  และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า

                              แนวคิดการให้การปรึกษาชุมชน  เป็นหลักการที่ด�เนินการ

                              เพื่อเสริมสร้างพลังอ�นาจให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล  เป็นการสร้าง

                              ความรู้สึกส่วนตัวของคนพิการให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมี

                              คุณค่าหรือสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยข้อจ�กัดที่ตนเองมี

                              ซึ่งกระบวนการสร้างพลังอ�นาจในตนเอง ควรเริ่มจากการสร้าง

                              ความรู้สึกของการมีคุณค่าในตัวบุคคล  โดยมีแนวคิดส�คัญใน

                              การปฏิบัติ (กิตวิภา สุวรรณรัตน์, 2545) ได้แก่

                                   1)   การเพิ่มความสามารถในตัวบุคคล (increasing self-

                              efficacy)  โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจตนเอง

                              เพื่อให้มีความพร้อมที่จะต่อสู้หรือเอาชนะตนเอง โดยการเข้าไป

                              มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

                                   2)   การพัฒนาความส�นึกในเรื่องกลุ่ม  (developing

                              group consciousness) โดยการปลุกจิตส�นึกในตัวบุคคลที่เป็น

                              สมาชิกกลุ่ม  ให้มีความรู้สึกร่วมที่จะเสนอความเห็นและวิธีการ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17