Page 25 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 25

16

       การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ



                           จากนิยามของความสุขของคนพิการ  เป็นสิ่งที่สะท้อนถึง

                     ความรู้  ทัศนคติ  และข้อมูลที่น�ไปสู่แนวโน้มพฤติกรรมของ

                     คนพิการ ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่ส�คัญคือ การเข้าถึงสื่อหรือแหล่ง

                     เรียนรู้ที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นสื่อสังคมออนไลน์  หนังสือ

                     วารสาร หรือสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ที่น�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่

                     คนพิการให้ความสนใจ นอกจากนั้นแล้ว การที่บุคคลปฏิบัติต่อ

                     คนพิการ หรือการมีประสบการณ์ต่าง ๆ ร่วมกับคนพิการ ท�ให้

                     บุคคลได้รับความรู้เกี่ยวกับคนพิการ ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจ

                     เกี่ยวกับคนพิการน�ไปสู่ทัศนคติ  และการแสดงพฤติกรรมต่อ

                     คนพิการ  การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ

                     ทั้งในด้านความหมาย ศักยภาพ ความสามารถ และสิทธิต่าง ๆ ของ

                     คนพิการ ผ่านประสบการณ์หรือผ่านการเรียนรู้ในชีวิตประจ�วัน

                     บุคคลจะมีพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในรูปแบบที่

                     ได้พบเห็นมา  ซึ่งพบว่า  ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กัน

                     โดยความรู้เป็นสิ่งที่จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมไม่ว่าในทางตรงหรือ

                     ทางอ้อม  โดยทางตรงคือ  พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นผลมา

                     จากความรู้โดยตรง และทางอ้อม คือทัศนคติที่เป็นตัวกลางเชื่อม

                     ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรม  (Schwartz,  1975,

                     pp.  28-31)  ดังนั้นจากนิยามของความสุขของคนพิการเป็น

                     ความรู้และทัศนคติที่เกิดจากทั้งตัวคนพิการและ สถาพแวดล้อม

                     รอบข้างคนพิการ

                           จากการศึกษาเรื่อง  การเข้าถึงและความคาดหวังของ

                     คนพิการต่อสิทธิประโยชน์ ในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ

                     ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2550 และที่

                     แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 (เจษฎาภรณ์ จ�นงค์ยา,

                     2559)  ภาพรวมระดับการเข้าถึงและระดับความคาดหวังสิทธิ

                     ประโยชน์ ตามมาตรา 20 ของคนพิการ พบว่า




                                   “คนพิการมีการเข้าถึงสิทธิในระดับน้อย

                                    แต่ความคาดหวังสิทธิอยู่ในระดับมาก”
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30