Page 70 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 70
โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการลดและเลิกใช้สารทำาลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ธนาคารได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการลดและเลิกใช้สารทำาลายชั้นบรรยากาศโอโซนใน
ประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 โดยธนาคารทำาหน้าที่เป็นผู้บริหารเงินช่วยเหลือในโครงการนี้
เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ลดและเลิกใช้สารทำาลายชั้นบรรยากาศโอโซน และได้ตั้งหน่วยโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อทำาหน้าที่บริหารเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากกองทุนอนุรักษ์ชั้นโอโซน (Ozone Projects Trust Fund : OTF) ตาม
พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำาลายชั้นบรรยากาศโอโซน รวมไปถึงการมีส่วนร่วมรณรงค์ และ
สร้างจิตสำานึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำาคัญของชั้นบรรยากาศโอโซน
ในปี 2562 ธนาคารโลกมีความประสงค์ขอให้ธนาคารบริหารเงินช่วยเหลือโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโร
ฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2 ต่อไป เพื่อให้การดำาเนินงานโครงการมีความต่อเนื่อง โดยธนาคารโลกขอให้สำานักงานบริหารหนี้
สาธารณะทำาหนังสือถึงธนาคาร เพื่อขอความร่วมมือในการดำาเนินการอย่างเป็นทางการ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการธนาคาร
ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ได้มีมติอนุมัติให้ธนาคารเข้าร่วมเป็นหน่วยงานบริหารเงินช่วยเหลือโครงการ
ลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2
สรุปข้อมูลที่สำาคัญของโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2 เป็นดังนี้
โครงการระยะที่ 2 เป็นการให้เงินช่วยเหลือในการเปลี่ยนอุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมสเปรย์โฟม และตู้เย็น
ตู้แช่เชิงพาณิชย์ วงเงินบริหารจัดการรวม 5.08 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา (รวมส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและ
ธนาคาร) ระยะเวลาในการดำาเนินโครงการระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2566 (4 ปี) โดยมีวงเงินช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการ
เป็นเงิน 1.92 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา ประมาณ 57.48 ล้านบาท ในโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้
ผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือทางด้านการเงินและความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค เพื่อให้ปรับเปลี่ยน
กระบวนการผลิตไปใช้เทคโนโลยีทางเลือกที่ไม่ทำาลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ภาคอุตสาหกรรมที่จะได้รับเงินช่วยเหลือผ่านธนาคารโลก ประกอบด้วย
1. อุตสาหกรรมสเปรย์โฟม (อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำาฉนวนกันความร้อน วัสดุอุดรอยรั่วรอยแตกร้าวของผนัง
และเพดาน) มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจำานวนประมาณ 73 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายเดี่ยว
(ขนาดใหญ่) จำานวน 15 ราย ผู้ประกอบการรายย่อย (ขนาดเล็ก) จำานวน 58 ราย ในส่วนของผู้ประกอบการรายย่อย
จะใช้วิธีการให้เงินช่วยเหลือผ่านตัวกลางผู้ขายสารเคมี จำานวน 2 ราย วงเงินความช่วยเหลือแบบให้เปล่า
รวม 1,732,597 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2. อุตสาหกรรมตู้เย็นตู้แช่เชิงพาณิชย์ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 1 ราย คือ บริษัท พัฒนาอินเตอร์คูล จำากัด
วงเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 183,514 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา เป็นการให้เงินสนับสนุนสร้างห้องทดลอง ปรับปรุง
กระบวนการผลิต เพื่อทดลองเปลี่ยนสารทำาความเย็นจาก HFCs เป็น Propane (R-290) และ Isobutane (R-600a)
ซึ่งเป็นสารที่มีค่าทำาให้โลกร้อนตำ่า หรือค่า GWP (Global Warming Potential) ตำ่า แต่มีข้อเสียในเรื่องราคา
แพงกว่า HFCs ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และติดไฟได้
ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องส่งข้อเสนอโครงการย่อย (Proposal) และ แผนการจัดการเครื่องมือ/อุปกรณ์
เดิม (Disposal Plan) รวมทั้งแผนจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Plan : EMP) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม
พิจารณาและตรวจสอบพร้อมทั้งยืนยันสิทธิ์การได้รับเงินช่วยเหลือ หลังจากนั้นส่งให้ธนาคารจัดทำารายงานประเมินโครงการย่อย
(Appraisal Report) และจัดทำาสัญญาตลอดจนเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ประกอบการตลอดระยะเวลาการดำาเนินโครงการ
ดังนั้น นับได้ว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการมีส่วนร่วมรณรงค์ และสร้างจิตสำานึก
ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำาคัญของชั้นบรรยากาศโอโซน และช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ
นโยบายธนาคารยุคใหม่มุ่งช่วยเหลือสังคมในบทบาท Social Bank
66 ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม