Page 42 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2564
P. 42
“เศรษฐกิจพอเพียง”
ตำ�รวจภูธรภ�ค ๗
ผลจากการใช้แนวทางพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทย
อย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการ
ของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนอยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลง
ทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
ส�าหรับผลของการพัฒนาในด้านยากนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความเจริญทางวัตถุและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัยหรือการขยายปริมาณและการกระจาย
การศึกษาอย่างเท่าถึงมากขึ้น แต่ผลด้านอยากเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปสู่ชนบทหรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้ามาในชนบท
ท�าให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มตามประเพณี
เพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสังคมปรับเปลี่ยน
กันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งส�าคัญคือ ความพอเพียงในการด�ารงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานท�าให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง
และด�าเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้อ�านาจและความมีอิสระในการก�าหนดชะตาชีวิตของตนเอง
ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตัวเองได้รับการสนองตอบความต้องการต่าง ๆ รวมทั้ง
ความสามารถในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทย
และสังคมไทยมีอยู่เดิมต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤติเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอ
ของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฏการณ์ได้เป็นอย่างดี
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชด�าริชี้แนวทาง
การด�าเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลัง
ได้เน้นย�้าแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถด�ารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาวิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการด�ารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนคนไทย
ทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ด�าเนินการไปตาม
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ความพอเพียง หมายถึง ความประมาณ
ความมีเหตุผล รวมถึงความจ�าเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใด ๆ อันเกิด
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง
อย่างยิ่งในการน�าวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและด�าเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีส�านึก
ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ด�าเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ
ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
วารสาร จิต อาสา 38 ฉบับที่ ๑ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๔