Page 37 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2564
P. 37
เศรษฐกิจพอเพียง
ตำ�รวจภูธรภ�ค ๓
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย
ทุกหมู่เหล่าและก�าลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ชนชาวไทยได้น้อมน�ามาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ท�าไร่นาสวนผสม ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน
ในครอบครัว ใช้จ่ายอย่างประหยัด จัดท�าบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อให้เห็นปัญหาข้อบกพร่อง
ในการใช้จ่าย จะได้ตรวจสอบว่าสิ่งใดสมควรซื้อ สิ่งใดไม่สมควรซื้อ จะได้ลดค่าใช้จ่ายลง เป็นต้น
ค�าว่า “พอเพียง” แล้ว คงต้องกล่าวถึงค�าว่า “พอดี” ควบคู่กันไป เพราะความพอดีก็คือความพอเพียง
เมื่อรู้จักพอก็จะท�าให้จิตใจเป็นสุข ถ้าใจเป็นสุขก็จะไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น รู้จักให้ทาน รู้จักแบ่งปัน
รู้จักเสียสละ ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า เหล่านี้คือ ความพอดีพอเพียงและในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักปฏิบัติที่ต้องค�านึงถึงประกอบด้วย ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข กล่าวคือ เน้นการปฏิบัติในทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ๓ คุณลักษณะ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกัน
ที่ดี ส่วน ๒ เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
สภ.สวาย จว.สุรินทร์ โดยการน�าของ พ.ต.อ.จิตรกร ชาวนา ผกก.สภ.สวาย พร้อมด้วยข้าราชการต�ารวจ
จ�านวน 35 นาย ได้มีแนวคิดเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ข้าราชการต�ารวจและครอบครัว ที่พักอาศัยอยู่ใน
บ้านพักของทางราชการ เพื่อที่จะเพิ่มพูนรายได้ลดรายจ่าย ซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ประกอบกับ
ค่าครองชีพในปัจจุบันค่อนข้างสูง ท�าให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวไม่เพียงพอ ร่วมกันด�าเนินโครงการเศรษฐกิจ
พอเพียงในพื้นที่ สภ.สวาย โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณทางทิศเหนือของอาคารที่ท�าการ เลี้ยงปลาดุก ปลานิล
ปลาตะเพียนในบ่อดิน และพื้นที่ว่างบริเวณทางทิศใต้ของอาคารที่ท�าการ ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกกล้วย
พื้นที่ด้านหลังอาคารที่ท�าการได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ เพื่อให้ข้าราชการต�ารวจได้ใช้เป็นอาหารกลางวัน
เป็นสวัสดิการของข้าราชการต�ารวจ และให้ครอบครัวต�ารวจสามารถมาเก็บผลผลิตน�าไปใช้ในครัวเรือน ท�าให้
ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
วารสาร จิต อาสา 33 ฉบับที่ ๑ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๔