Page 34 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2564
P. 34

จิตอาสา

                                                    ตำ�รวจนครบ�ล


                                                                                สถานีต�ารวจนครบาลทองหล่อ



           ท�าไมต้องมีจิตอาสา
                 ในโลกยุคปัจจุบันนี้ มนุษย์เราเริ่มมีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น เริ่มใช้ชีวิตในวงที่แคบลง สนใจค�านึงถึง
           แต่ตัวเอง ไม่สนใจหรือใส่ใจกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งอุปนิสัยนี้ ก�าลังบั่นทอนสังคมโดยทั่วไป เพราะความรู้สึกแบบ

           ต่างคนต่างอยู่ ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลหรือคิดถึงส่วนรวมนี้ จะส่งผลให้สังคมไม่น่าอยู่ ผู้คนขาดคุณธรรมจริยธรรม
           แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่มีใครยอมใครหรือช่วยเหลือใคร สุดท้ายสังคมก็อยู่ไม่ได้ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน

           ซึมซับความเป็นจิตอาสาและมีหัวใจที่เป็นจิตสาธารณะนั้น นับเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ ให้มีคุณลักษณะที่ดี
           ในด้านนี้ อันจะน�ามาซึ่งการสร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่ต่อไปในอนาคต



           วิธีสอนเด็กให้เป็นคนมีจิตอาสา
                 เรื่องของจิตอาสาและจิตสาธารณะนั้น ในเรื่องของการปลูกฝังและส่งเสริม เราสามารถปลูกฝังและ

           ส่งเสริมเด็กมีใจเป็นจิตอาสาได้หลายวิธี ดังนี้
                 1. บุคคลใกล้ชิดเป็นตัวอย่างที่ดี ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของเบนดูร่า ได้กล่าวว่า เด็กนั้นเรียนรู้
           ผ่านตัวแบบที่มีอิทธิพล ซึ่งตัวแบบที่มีอิทธิพลนั้นก็คือบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น

           พ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าต้องการสอนให้เด็กและเยาวชนมีหัวใจจิตอาสาและจิตสาธารณะแล้ว ก็ควรที่จะ
           ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องของการเป็นจิตอาสาและจิตสาธารณะ เช่น ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
           ไม่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ ไม่จอดรถในพื้นที่เฉพาะ และรู้จักใช้และรักษาของส่วนรวมต่าง ๆ เป็นต้น

                 2. ส่งเสริมให้เด็กมีหน้าที่ การส่งเสริมให้เด็กมีหน้าที่ต่าง ๆ นั้น จะช่วยให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่ง
           ในสังคมนั้น ๆ เช่น ให้ช่วยเหลืองานบ้านตามความเหมาะสม หรือการตั้งเวรประจ�าวันในการดูแลท�าความสะอาด
           ในห้องเรียน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังจิตส�านึกให้เขาเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักเสียสละ

           มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คิดถึงคนอื่น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เขาเป็นคนที่มีจิตอาสา
           นั่นเอง

                 3. สอนเด็กให้เป็นคนคิดถึงส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม คือ ควรปลูกฝังให้เด็กช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
           และธรรมชาติ ฝึกให้ลูกรักษาความสะอาดของส่วนรวม เช่น รู้จักทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง เวลาไปที่สวนสาธารณะ
           ก็จะไม่เด็ดดอกไม้ใบไม้เล่น หรือเวลาเข้าห้องน�้าสาธารณะก็ควรรักษาความสะอาดเพื่อให้คนอื่นสามารถมาใช้

           ต่อได้ เป็นต้น
                 4. ชวนเด็กไปบริจาคสิ่งของหรือท�ากิจกรรมอาสา การพาเด็ก ๆ ไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์หรือไปเยี่ยม

           บ้านคนชรานั้น เป็นการสร้างประสบการณ์ดี ให้เขาได้มีโอกาสซึมซับความเป็นจิตอาสาโดยตรงอันจะส่งผลให้
           เขาปฏิบัติตนด้วยจิตอาสาและจิตสาธารณะตามความเคยชิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีส�าหรับเขาในภายภาคหน้า
















                                      วารสาร  จิต  อาสา 30    ฉบับที่ ๑ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๔
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39