Page 36 - วารสารจิตอาสา ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2564
P. 36
จิตอาสา
ตำ�รวจภูธรภ�ค ๒
“จิตอาสา” คือ จิตที่ไม่นิ่งดูดายต่อสังคมหรือความทุกข์ยากของผู้คนและปรารถนาเข้าไปช่วย ไม่ใช่
ด้วยการให้ทาน ให้เงิน แต่ด้วยการสละเวลา ลงแรงเข้าไปช่วยด้วยจิตที่เป็นสุขที่ได้ช่วยผู้อื่น จะเน้นว่าไม่ใช่แค่
ท�าประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของเราด้วย “จิตอาสา” คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็น
ผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยก�าลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละสิ่งที่ตนเองมี
แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ให้กับส่วนรวม อีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือ ความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง
“อาสาสมัคร” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีจิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมากกับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ
เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น การเป็น
“อาสาสมัคร” ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ก็แล้วแต่ที่ท�าให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรท�าทั้งสิ้น
คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จ�ากัดที่วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือข้อจ�ากัดใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่
ต้องมีจิตใจเป็น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมเท่านั้น กิจกรรมอาสาสมัครเป็นกระบวนการ
ของการฝึก “การให้” ที่ดี เพื่อขัดเกลาละวางตัวตนและบ่มเพาะความรัก ความเมตตาผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้
กระบวนการของกิจกรรม ซึ่งเป็นการยอมสละตนเพื่อรับใช้และช่วยเหลือแก้ไขวิกฤติปัญหาของสังคม อาสาสมัคร
จะได้เรียนรู้ละเอียดอ่อนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวมากขึ้น สัมผัสความจริง เชื่อมโยงเหตุและปัจจัยความสุขและ
ความทุกข์ เจริญสติในการปฏิบัติงาน ที่ศาสนาพุทธ เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
เพื่อให้เกิด “การให้” ที่ดี กิจกรรมอาสาสมัครจึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน
และเกิดปัญญาได้ ที่ผ่านมาคนไทยอาจเคยชินกับการท�าความดีด้วยการใช้เงินลงทุนในการท�าบุญ ไม่ค่อยอยาก
ออกแรงช่วยเหลือ เพราะถือว่าการท�าบุญกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผู้มีบุญบารมีจะท�าให้คน ๆ นั้นได้บุญมากขึ้น
คนไทยจึงมักท�าบุญกับพระ บริจาคเงินสร้างโบสถ์ แต่ละเลยการ “ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์”
วารสาร จิต อาสา 32 ฉบับที่ ๑ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๔