Page 72 - คู่มือองค์ความรู้ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และแผนระดับต่างๆในภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม
P. 72
ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ ๒
บทที่
ยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนระดับต่างๆ ยุทธศ�สตร์ นโยบ�ย และแผนระดับอื่นที่เกี่ยวข้องกับภ�รกิจ
กระทรวงวัฒนธรรม
สรุปคว�มเชื่อมโยงโมเดลเศรษฐกิจสู่ก�รพัฒน�ที่ยังยืน
(Bio-Circular-Green Economy-Green Economy )
กับง�นต�มภ�รกิจของกระทรวงวัฒนธรรม
การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๙ ประกอบด้วย ๔ สาขายุทธศาสตร์ คือ (๑) เกษตร และอาหาร (๒) สุขภาพ
และการแพทย์ (๓) พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ (๔) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เมื่อพิจารณาตามภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรมแล้วจะเห็นได้ว่ากระทรวงวัฒนธรรมจะมีส่วนเกี่ยวข้องในสาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ด้วยการกระจายแหล่งท่องเที่ยวสู่เมืองรอง โดยการพัฒนาสินค้าและบริการซึ่งด�าเนินการด้วยชุมชนท้องถิ่น เน้นตลาดคุณภาพ สร้างมาตรฐาน ความสะดวก สะอาด
ปลอดภัย ร่วมกับการชูอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยการน�าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้บริหารจัดการ
โมเดลเศรษฐกิจ BCG มีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ดังนี้
๑.วิสัยทัศน์: เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ
ให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
๒.ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
(๑) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
(๒) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
(๓) ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
(๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมสามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม
และยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้วยการใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งจากภายใน คือ “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มาต่อยอดและยกระดับมูลค่า ในห่วงโซ่การผลิตสินค้า
และบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสมัยใหม่
72