Page 76 - คู่มือองค์ความรู้ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และแผนระดับต่างๆในภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม
P. 76
ตรวจสอบ และประเมินผลการด�าเนินการ ๓ ก�รขับเคลื่อนยุทธศ�สตร์ช�ติ และแผนระดับต่�งๆ ที่สอดคล้องกับ
บทที่
การขับเคลื่อน และการติดตาม
ตามยุทธศาสตร์ ภ�รกิจของกระทรวงวัฒนธรรมสู่ก�รปฏิบัติอย่�งเป็นรูปธรรม
กลไกก�รขับเคลื่อนก�รปฏิรูปประเทศ ยุทธศ�สตร์ช�ติ
และก�รสร้�งคว�มส�มัคคีปรองดองโดยหน่วยง�นของรัฐ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ก�าหนดให้รัฐจะต้องให้ความส�าคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การปฏิรูปประเทศ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง จากปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญมาตลอดระยะเวลา ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นนโยบายส�าคัญ และเร่งด่วน ที่รัฐบาล
จะต้องผลักดันให้บรรลุผลตามเป้าหมายโดยเร็ว และถือเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานจะต้องร่วมผลักดัน ผ่านการด�าเนินการตามภารกิจ
อ�านาจ และหน้าที่ทางกฎหมายผ่านการบูรณาการการท�างานอย่างจริงจัง ซึ่งเมื่อพิจารณาตามหลักการซึ่งปรากฎตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแล้วจะพบว่า
มีองค์ประกอบส�าคัญ ๓ ประการที่รัฐจะต้องให้ความส�าคัญ คือ
๑. การปฏิรูป (ป) เป็นบทบาทหน้าที่ส�าคัญที่รัฐบาลพึงต้องท�าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๖ (มาตรา ๒๕๗-๒๖๑)
ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ การปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญมุ่งเน้นการปฏิรูปประเทศในหลายด้าน ได้แก่ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย
กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ และ ด้านอื่นๆ เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นจากการปฏิรูปที่รัฐธรรมนูญก�าหนด
๒. การขับเคลื่อนการด�าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (ย) ซึ่งยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวถือแผนแม่บทการพัฒนาประเทศในระยะยาว ๒๐ ปี
(พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) มีจุดประสงค์การบรรลุเป้าหมายทุก ๆ ๕ ปี เพื่อน�าพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
๓. การสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป) ของประชาชนในชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายส�าคัญอีกประการหนึ่งที่รัฐจะต้องด�าเนินการให้ประสบการณ์ส�าเร็จ
ผ่านการท�างานร่วมกันของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ซึ่งการบรรลุเป้าหมายทั้ง ๓ ประการข้างต้น รัฐบาลได้ก�าหนดกลไกหลักในการขับเคลื่อนการด�าเนินการให้ประสบความส�าเร็จผ่านหน่วยงานของรัฐที่ส�าคัญ
ซึ่งจะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการด�าเนินการที่สอดคล้องกับเป้าหมายทั้ง ๓ ประการ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ส�านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) และส�านักงานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(ป.ย.ป) เป็นหน่วยงานร่วมกันท�าหน้าที่เป็นฝ่ายอ�านวยการในการด�าเนินการในเรื่องดังกล่าวให้กับรัฐบาล และเพื่อให้การท�างานประสานเชื่อมโยงกับคณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน และการบูรณาการ ขับเคลื่อน และประสานแผนงาน/โครงการของกระทรวงและระหว่างกระทรวง
ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และทิศทางการปฏิรูปประเทศ
76