Page 15 - จริงหรือไม่มะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด 2020
P. 15

รังสีรักษาในมะเร็งปอด


              เรียบเรียงและเขียนโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธิติ สว่างศิลป์
              หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

                   รังสีรักษา (ฉายรังสี, ฉายแสง) เป็นการนำารังสีพลังงานสูงมาใช้ในการรักษามะเร็ง

              ซึ่งอาจจะเป็นการทำาลาย หรือยับยั้งการเพิ่มจำานวนเซลล์มะเร็ง

                   กรณีของมะเร็งปอด  รังสีรักษาสามารถใช้สำาหรับโรคระยะแรกที่ไม่สามารถผ่าตัดได้  หรือใช้ร่วมกับยาเคมีบำาบัด
              สำาหรับโรคระยะลุกลามเฉพาะที่  หรือเป็นการรักษาเสริมเพื่อเพิ่มผลการควบคุมโรคร่วมกับวิธีรักษาอื่นๆ  หรือใช้รักษาบรรเทา

              อาการสำาหรับโรคในระยะลุกลาม หรือแพร่กระจาย

                   เทคนิคทางรังสีรักษาในปัจจุบัน มีการพัฒนาเป็นรูปแบบของการฉายรังสีแบบ 3 มิติ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการ
              วางแผนรักษา เพื่อให้ทิศทางและปริมาณรังสีมีความเหมาะสมถูกต้องที่ตำาแหน่งโรคมะเร็ง และลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติ

              ให้ได้มากที่สุดเพื่อลดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเข้าใจและร่วมมือในระหว่างการฉายรังสีดี อาจใช้รูปแบบ
              การฉายรังสีแบบ 4 มิติ เพื่อฉายรังสีตามรูปแบบการหายใจที่สม่ำ�เสมอของผู้ป่วยได้

                   ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา จะได้รับการบอกเล่าทำาความเข้าใจถึงวิธีการรักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียง การปฏิบัติตัว

              และดูแลตนเองตั้งแต่ก่อน ระหว่าง รวมถึงหลัง การรักษาด้วยรังสีรักษาเสร็จสิ้น เพื่อให้ได้รับทราบข้อดีหรือข้อเสีย รวมถึง
              ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรังสีรักษา โดยส่วนใหญ่จะให้บุคคลในครอบครัวได้ร่วมรับทราบข้อมูลไปพร้อมกัน เพื่อประโยชน์
              ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่

                                                                               จริงหรือไม่... มะเร็งปอด ยุค 2020 ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ?  15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20