Page 11 - จริงหรือไม่มะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด 2020
P. 11
มะเร็งปอดกับการผ่าตัด
เรียบเรียงและเขียนโดย นายแพทย์สยาม ค้าเจริญ
หน่วยศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
การผ่าตัดนั้น มีบทบาทสำาคัญในกระบวนการรักษาโรคมะเร็งปอด ทั้งในด้านการให้การวินิจฉัย
การรักษา และการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง
การวินิจฉัย เมื่อผู้ตรวจพบความผิดปกติของภาพถ่ายรังสีที่สงสัยว่าอาจเกิดจากมะเร็ง ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องได้รับ
การพิสูจน์ชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันคำาวินิจฉัย โดยอาจกระทำาได้ด้วยการใช้เข็มเจาะตรวจชิ้นเนื้อจากผนังทรวงอก หรือการส่องกล้อง
ทางเดินหายใจ เพื่อตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ในกรณีที่หัตถการทั้งสองอย่างนั้นทำาไม่ได้ เช่น ก้อนเนื้องอกอยู่ลึก อยู่ใน
ตำาแหน่งที่เสี่ยง อันตราย หรือทำาไปแล้วแต่ไม่สามารถให้การวิจฉัยได้ เพราะชิ้นเนื้อที่ตัดออกมามีขนาดเล็กเกินไป การ
ผ่าตัดทรวงอกเพื่อการวินิจฉัยสามารถทำาได้ โดยมีแผลผ่าตัดแผลเล็กๆ บนทรวงอก ตัดเนื้อปอดพร้อมทั้งก้อนเนื้องอกออก
มาเป็นรูปลิ่ม วิธีนี้สามารถให้คำาวินิจฉัยได้ถูกต้อง แม่นยำา เพราะได้ชิ้นเนื้อขนาดใหญ่
การรักษา ในโรคมะเร็งปอดระยะที่ 1, 2 และในบางกรณีของระยะที่ 3 นั้น การผ่าตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกทั้งกลีบ
รวมทั้งการตัดต่อมน้ำ�เหลืองในช่องทรวงอก สามารถช่วยให้มีผลการรักษาที่ดีขึ้น อัตราการรอดชีวิตยาวนานขึ้น
การแก้ไขภาวะแทรกซ้อน โรคมะเร็งปอดนั้น อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้นได้ เช่น การไอเป็นเลือดรุนแรง
การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ฝีในปอด ปอดแตก หรือน้ำ�ท่วมปอด ซึ่งจำาเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
จริงหรือไม่... มะเร็งปอด ยุค 2020 ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ? 11