Page 9 - จริงหรือไม่มะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด 2020
P. 9

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์


              เรียบเรียงและเขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิชชนา จำารูญรัตน์
              หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
                   การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดนอกจากการทำา CT scan หรือการสแกนด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมี

              การตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยบางราย ซึ่งทำาได้
              โดยการนำาสารเภสัชรังสีชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย และถ่ายภาพสารนั้นๆ การตรวจที่ใช้บ่อยในโรคมะเร็งปอด ได้แก่

              FDG PET/CT

                   สารเภสัชรังสีที่ใช้ในการตรวจนี้ คือ F-18 FDG (F-18 Fluoro
              Deoxy Glucose) หรือมักเรียกย่อๆ ว่า FDG (เอฟดีจี) เป็นสาร
              แบบหนึ่งของนำ้าตาลกลูโคส  เมื่อให้เข้าไปในร่างกายคนเรา  โดยการ

              ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำา จะสามารถติดตาม FDG ในร่างกายได้โดย
              เครื่องมือถ่ายภาพที่เรียกว่า PET (Positron Emission Tomography)
              ซึ่งปัจจุบันจะเป็นเครื่อง  PET/CT  มะเร็งปอดส่วนใหญ่ใช้  FDG  สูง
              ดังนั้น  เราจึงใช้สารนี้ในการตรวจวินิจฉัยการกระจายของโรค  เพื่อ
              ประเมินระยะของตัวโรค ประเมินสภาวะของต่อมนำ้าเหลืองในช่องอก

              และสามารถที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจการรักษา  ว่าสามารถที่จะ   ภาพที่ 3: ภาพปกติของสาร FDG ในร่างกายคนเรา
              ผ่าตัดได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังใช้ในการประเมินการกลับเป็นซำ้า และ   และกรณีผู้ที่มีก้อนเนื้อร้ายที่ปอด
              ประเมินผลการรักษาของมะเร็งปอดได้ดี
                                                                               จริงหรือไม่... มะเร็งปอด ยุค 2020 ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ?  9
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14