Page 6 - จริงหรือไม่มะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด 2020
P. 6

ตรวจความผิดปกติของยีนทั้ง 5 ชนิดนี้ได้จากชิ้นเนื้อมะเร็งปอดที่เราทำาผ่าตัด หรือเจาะออกมาตรวจได้ ในประเทศไทยมี
          ยาต้านเฉพาะจุดสำาหรับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มียีนผิดปกติทุกชนิด ยกเว้นยีน NTRK ซึ่งยาต้านเฉพาะจุดสำาหรับยีน

          ผิดปกติชนิดนี้ยังไม่มีในประเทศไทย  ยาต้านเฉพาะจุดหรือยามุ่งเป้าสำาหรับยีนผิดปกติเหล่านี้เป็นยารับประทาน  ซึ่งผลการ
          ตอบสนองต่อยาต้านมะเร็งทุกกลุ่มนี้ดีมากถึง 60-70% และทำาให้ระยะเวลาการรอดชีวิตสูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการใช้
          ยาเคมีบำาบัด  ผลข้างเคียงของยานั้นก็จะต่างจากยาเคมีบำาบัดที่ให้ทางเส้นเลือดดำา  คือ  ยาในกลุ่มนี้อาจจะทำาให้เกิดผื่นผิว
          แห้ง สิว ท้องเสีย การเจริญอาหารลดลง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหาร หรือระบบอื่นๆ เกิดขึ้นได้ แต่โดย

          ทั่วไปผู้ป่วยสามารถรับประทานยา และสามารถที่จะทนต่อผลข้างเคียงจากยาต้านเฉพาะจุดได้ดี ผู้ป่วยบางรายมีการตอบ
          สนองต่อยาดี กล่าวคือ ยาสามารถคุมมะเร็งปอดได้นานหลายปี แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายเกิดการดื้อยากลุ่มนี้ได้เมื่อใช้ไปในระยะ
          เวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีการดื้อยาเกิดขึ้นก็สามารถที่จะเปลี่ยนมาใช้การรักษาด้วยยาเคมีบำาบัดได้ ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่จัดเป็นยามุ่งเป้า
          เหมือนกัน  ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดและทำาให้

          หลอดเลือดที่เสียไปดีขึ้น  ทำาให้นำายาเคมีบำาบัด
          เข้าสู่ก้อนมะเร็งได้ดีขึ้น  ซึ่งยากลุ่มนี้เป็นยาฉีดเข้า
          ทางเส้นเลือดดำาและจะใช้ร่วมกันกับยาเคมีบำาบัด
          และ/หรือยากระตุ้นภูมิต้านทานที่จะกล่าวถึง

          ถัดไปได้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ทำาให้มีความดัน
          โลหิตสูงขึ้น มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำาให้มี        2 เดือน หลังจากรับประทานยาต้าน EGFR
          ความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก และภาวะหลอดเลือด    ภาพที่ 2: ภาพสแกนช่องปอดเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับยาต้าน EGFR
          อุดตันได้


     6    จริงหรือไม่... มะเร็งปอด ยุค 2020 ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ?
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11