Page 10 - ธนาคารเวลากับการรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย
P. 10
“ธนำคำรเวลำ” ควำมจ�ำเป็น โอกำส
และควำมเป็นไปได้ในกำรรองรับสังคมสูงวัย
ด้วยแนวคิดของการจัดการธนาคารเวลาเป็นแนวคิดที่ยึดหลักการ “เพื่อนบ้าน
ช่วยเพื่อนบ้าน” จึงสอดรับกับคุณลักษณะของคนไทยส่วนใหญ่ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
และมีจิตอาสาที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามทุกข์หรือประสบกับปัญหา อย่างไรก็ดี
ในการพัฒนาธนาคารเวลาให้ประสบความส�าเร็จได้นั้น มีปัจจัยที่น�าไปสู่ความส�าเร็จ คือ
1) ต้องเชื่อว่าทุกคนมีประสบการณ์ที่ดี สามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นได้
2) เปลี่ยนนิยามของค�าว่า “งาน” ในความหมายปกตินั้นคือสิ่งที่ท�าเพื่อแลก
กับ “เงิน” แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจากงานที่ท�าในธนาคารเวลานั้นคือ “เวลา”
3) เปลี่ยนแนวคิดการช่วยเหลือจากการถาม เป็นการอาสา
4) มีเครือข่ายสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนและมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง
5) มีความเคารพซึ่งกันและกัน และการแลกเปลี่ยนต้องมีความเท่าเทียม โดยทุก
การกระท�าของการดูแล ช่วยเหลือ 1 ชั่วโมง = 1 เครดิตเวลา ของการฝาก
ออมในธนาคารเวลา
เมื่อน�ามาสู่การปฏิบัติ ก็คือ รูปแบบกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนดูแล
ซึ่งกันและกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนทักษะ ประสบการณ์ บริการขั้นพื้นฐาน และสามารถ
สะสมเวลาไว้ เสมือนเราออมเงินในบัญชีธนาคารของเรา เมื่อยามจ�าเป็นที่ต้องการได้รับ
ความช่วยเหลือก็สามารถเบิกเวลามาใช้ได้
“ธนาคารเวลา” จึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่มีการน�ามาช่วยจัดการปัญหาสังคม
สูงวัย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไร้การดูแลเอาใจใส่ นั่นหมายถึง
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในวันนี้ 1 ชั่วโมง จะสามารถเก็บไว้เพื่อให้เราสามารถได้รับการ
ช่วยเหลือ เมื่อเราต้องกลายเป็นผู้สูงวัยในอนาคตเป็นเวลา 1 ชั่วโมงด้วย ถ้าจะให้เห็นภาพ
ชัดมากกว่านี้ “ธนาคารเวลา” ก็คือ ธนาคาร ฝาก-ถอนความดีช่วยสังคมสูงวัยนั่นเอง
10