Page 7 - ธนาคารเวลากับการรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย
P. 7
“ธนาคารเวลา” กับการรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย
บทน�ำ
ด้วยความประจักษ์ในสถานการณ์และข้อค้นพบของข้อมูลการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้สูงอายุประมาณ 10.8
ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.5 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ข้อมูลในปี 2559 สะท้อน
ให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง โดยหนึ่งในสามของ
ผู้สูงอายุ มีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน บุตรซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักมีสัดส่วนลดลง
ร้อยละ 7.7 ของผู้สูงอายุต้องอยู่ตามล�าพังหรืออยู่กับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
และอยู่ในภาวะที่พึ่งพิงประมาณ 4 แสนคน และใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมี
ผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด นั่นคือ ประเทศไทยจะเข้าสู่
การเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super - aged society)
ทั้งนี้ จะมีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มเป็น 1.3 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรค
สมองเสื่อมเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขต
เมืองและในชนบทมีความเหลื่อมล�้า ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการสุขภาพ
ด้วยข้อจ�ากัดในด้านต่าง ๆ อาทิ การเดินทาง การรับรู้ถึงสิทธิต่าง ๆ ของผู้สูงอายุจาก
สภาวการณ์การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของภาระของรัฐ สังคม
ชุมชน และครอบครัวในการดูแล รักษาสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการยังชีพ และดูแลทั้งในด้าน
ที่อยู่อาศัย คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่จะเพิ่มระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ
กระแสความตื่นตัวเพื่อเตรียมการรองรับสังคมสูงวัยและผลกระทบที่จะตามมา
เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีมาตรการและการเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน
บุคลากร และมีนโยบายในการส่งเสริมด้านต่าง ๆ อาทิ การท�างานอย่างต่อเนื่อง การหา
รายได้เพิ่ม การออม พัฒนาระบบบ�านาญของรัฐ การมีเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ การมี
กองทุนผู้สูงอายุ เป็นต้น
7