Page 32 - ธนาคารเวลากับการรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย
P. 32
ขั้นตอนที่ 4 ส�ำรวจบริบท จัดท�ำฐำนข้อมูล
เป็นการศึกษาบริบทของพื้นที่ ทั้งในมิติกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการช่วยเหลือ
ที่สะท้อนปัญหา ความต้องการในการช่วยเหลือและผู้ให้บริการช่วยเหลือที่เป็นจิตอาสา
ซึ่งจะน�าไปสู่การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างจิตอาสากับผู้รับบริการช่วยเหลือ ซึ่งจะท�าให้
การจัดบริการของธนาคารเวลาในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 5 จัดตั้งคณะกรรมกำรธนำคำรเวลำ
เพื่อขับเคลื่อน “ธนาคารเวลา” ให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ด้วยการสร้างกลไกในการ
บริหารจัดการ เพื่อก�าหนดรูปแบบการท�างานโดยยึดหลักการ “เพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน”
ก�าหนดกติกาการเข้าเป็นสมาชิก การฝากและถอนเวลา รวมทั้งก�าหนดมาตรการต่าง ๆ
เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบเชิงลบ เช่น ความปลอดภัยผู้รับบริการ การออมเวลาเท็จ ฯลฯ
ด้วยการจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูล พัฒนากลไกในการติดตาม ถอดบทเรียน
น�าไปสู่การรายงานผลต่อคณะกรรมการธนาคารเวลาระดับชาติ
ขั้นตอนที่ 6 จัดตั้งธนำคำรเวลำ
เมื่อมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่พร้อมส�าหรับการจัดตั้งธนาคาร
เวลาในพื้นที่ จึงควรมีการก�าหนดสถานที่ตั้งของธนาคาร ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม
ของคนในพื้นที่ร่วมในการก่อตั้ง และบูรณาการการด�าเนินงานกับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น หรือหน่วยงานในพื้นที่ที่เหมาะสม และมีการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้
จากการสนับสนุนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การบริจาค หรือการรับสมัครสมาชิกที่เข้าร่วม
ในธนาคารเวลา
32