Page 125 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 125
บ้าน
ด้วยความเป็นชุมชนกึ่งเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม มีประชากรกว่า 2,700 ชีวิต
จาก 1,100 ครัวเรือน ท�าให้มีปริมาณขยะจ�านวนมาก ชุมชนแถวนี้ต้องหันหน้ามาช่วยกัน
ดูแลจัดการขยะเป็นพิเศษ
“เรามานั่งคิดว่า จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรดี ยิ่งเป็นสังคมเมือง จะให้คนมาท�า
อะไรเหมือนกันนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายคิดว่า ให้คัดแยกขยะที่ขายได้กับขายไม่ได้เสียก่อน
ถ้าเราแยกขยะที่ขายได้ ปัญหาขยะก็จะหมดไป ชุมชนของเราก็จะสะอาดและเป็นระเบียบขึ้น”
แนวคิดของจ�าลอง หอมหวล เป็นการแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดและได้ผลดี ประธาน
ชุมชนโขดหิน 2 น�าอวน อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาท�า ‘ห่วงรักษ์ พักขยะ’ โดยปากห่วง
ท�าด้วยสายเคเบิ้ลเหลือใช้ และน�าไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกชุมชน เพื่อใส่ขยะที่ขายได้ เช่น
ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระดาษ ขวดแชมพู
“ห่วงแต่ละห่วงรับน�้าหนักได้ถึง 60 กิโลกรัม หลังจากที่เราท�าห่วงรักษ์พักขยะขึ้นมา
ชุมชนสะอาดขึ้นกว่าเดิมมาก เหล่าแม่บ้านก็ได้ประโยชน์ มีรายได้เสริมเล็ก ๆ น้อยๆ จาก
การคัดแยกขยะ”
สมาชิกชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ จังหวัดระยอง มีรวม 200 กว่าครัวเรือน จ�าลอง
มีเป้าหมายจะเพิ่มตัวเลขเป็น 700 ครัวเรือนให้ได้ภายในไม่ช้านี้ คงดีไม่น้อยหากบ้านทุกหลัง
ภายในชุมชนมีห่วงรักษ์พักขยะแขวนไว้ที่บ้าน และลงมือแยกขยะด้วยตนเอง
การจัดการขยะที่นี่ไม่ได้เริ่มต้นแค่ที่บ้านเท่านั้น หากยังแผ่ขยายไปสถานที่อื่น ๆ ในชุมชน
‘วัดโขดหิน’ คือหนึ่งในนั้น
Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน | 123