Page 160 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 160

เอไอเอส-ปล่อยให้ e-waste เป็นหน้าที่ของเรา
            บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จ�ากัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เริ่มต้นจัดการ
        e-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ

            “เราจัดการ e-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว โดยจัดให้มีจุด drop - off
        หรือจุดทิ้ง เริ่มจาก Shop ของเอไอเอส และร้านที่เป็นเครือข่ายของเรา เราเซ็นสัญญา
        บันทึกข้อตกลงร่วมกันกับไปรษณีย์ไทยให้เปิดจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในทุกจังหวัด
        รวมแล้วกว่า 160 จุดทั่วประเทศ
            “เราต้องการสร้างการตระหนักรู้ให้กับ
        ผู้คนว่า ขยะประเภทนี้เมื่อถึงเวลาหมดอายุแล้ว
        ควรจะต้องทิ้ง ไม่สมควรเก็บไว้ และต้องแยก
        ประเภทไม่ให้ปะปนกับขยะอื่น เพื่อไม่ให้เกิด
        อันตราย เราจึงได้สร้างจุดทิ้ง e-waste เพื่อ
        สุดท้ายจะได้น�าไปจัดการอย่างถูกวิธี”

            นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงาน
        พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน  เอไอเอส กล่าวถึง
        บทบาทในการจัดการ e-waste ก่อนที่จะเข้า
        ร่วมโครงการวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ

            “การตระหนักรู้เรื่อง e-waste ของคนไทยยังน้อยมาก อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ
        ที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว คนส่วนใหญ่หรือบางคนไม่กล้าทิ้งเพราะกลัวข้อมูลรั่วไหลบ้าง
        หรือบางคนอยากเก็บสะสมไว้บ้าง รวมทั้งบางคนถ้าทิ้งก็ทิ้งปะปนไปกับขยะอื่น โทรศัพท์
        มือถือ 1 เครื่อง ประกอบด้วยสารอันตรายหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม
        ซึ่งสารเหล่านี้เป็นอันตรายกับผู้ใช้ หรือหากทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป หรือลงดินลงน�้าปะปน
        กับอาหารที่เรากินก็จะยิ่งก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้การเข้าร่วมวิภาวดีไม่มีขยะ
        นอกจากจะท�าให้เราสามารถมีจุดทิ้ง e-waste เพิ่มขึ้นอีกเป็นจ�านวนมากแล้ว ยังท�าให้
        การตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่อง e-waste ขยายวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย”










        158 | Waste to Wealth ... เงินทองจำกกองขยะ ถอดบทเรียนกำรจัดกำรขยะตำมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165