Page 42 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 42

แม้ยังไม่ถึงเป้าหมายแต่ไม่ได้จะล้มเลิก
            นอกจากถุงพลาสติกที่ลดลงอย่างมหาศาลแล้ว ทีมงาน
        ยังรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรในจุฬาฯ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
        หันมาใช้ถุงผ้าและแก้วน�้าส่วนตัวกันมากขึ้น

            จากการเก็บข้อมูลพบว่า คนในจุฬาฯ หันมาใช้ถุงผ้า
        เกินกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแก้วน�้า มหาวิทยาลัยฯ ได้สร้าง
        ระบบดูแลรักษาและตรวจสอบคุณภาพตู้กดน�้าที่ติดตั้งภายใน
        สถาบันกว่า 80 ตู้ รวมทั้งแจกกระบอกน�้าให้กับนิสิตชั้นปี 1
        ทุกคน  ท�าให้มีคนหันมาใช้แก้วน�้าส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นถึง
        15 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ส�าหรับการคัดแยกขยะ จุฬาฯ ได้แบ่งการแยกขยะ
        ออกเป็น 4 ประเภทคือ 1. เศษอาหาร 2. ขยะรีไซเคิล จ�าพวกกระดาษ ขวดน�้า โลหะ แก้ว
        3. ขยะทั่วไป และ 4. ขยะอันตรายทุกประเภท

            “พวกเศษอาหาร เราจะเน้นรณรงค์ให้ทุกคนทานข้าวให้หมดจาน เพราะจะท�าให้ไม่
        เกิดขยะ หากเหลือเราก็จะมีแผนและวิธีการไล่เรียงมา เพื่อให้ขยะเหล่านั้นเกิดประโยชน์
        มากที่สุด โดยจะน�ามาเป็นอาหารสัตว์ก่อน หากยังเหลืออีก ก็จะน�าไปแปรเป็นพลังงาน
        อย่างเช่น การท�าไบโอดีเซล จากนั้นก็ผลิตท�าปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ซึ่งโรงท�าปุ๋ยของเราก็
        มีเครื่อง Bio-Digester Machine ท�าหน้าที่แปลงเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย และสามารถ
        รับเศษอาหารได้สูงสุดถึง 1.2 ตันต่อวัน ส่วนขยะรีไซเคิล เราจะให้แม่บ้านน�าไปคัดแยก แล้ว
        ขายให้เป็นรายได้ของพวกเขา ส่วนที่ขายไม่ได้ ก็จะส่งให้โรงงานน�าไปเผา เป็นเชื้อเพลิง

        ทดแทน ส�าหรับขยะทั่วไป จะน�าไปฝังกลบอย่างถูกวิธี ส่วนขยะอันตราย จะมีจุดทิ้ง ตั้งอยู่
        รอบๆ มหาวิทยาลัยกว่า 20 จุด ส่วนหนึ่งก็จะส่งให้โรงงานน�าไปรีไซเคิล อีกส่วนหนึ่งจะน�า
        ไปฝังกลบอย่างถูกวิธี
            ในจ�านวนขยะทั้ง 4 ประเภทนี้ เราจะมุ่งเน้นที่ขยะทั่วไป ซึ่งเมื่อคัดแยกและเดินหน้า
        เรื่องขยะอย่างจริงจังแล้ว ขยะชนิดนี้ต้องเหลือน้อยลง เมื่อก่อนตัวเลขสูงถึง 2,000 ตันต่อปี
        เราตั้งเป้าหมายการลดไว้ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 5 ปี”

            หลังจากด�าเนินโครงการมาได้ 3 ปีเศษ ตัวเลขขยะภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        ลดลงเฉลี่ยเพียงปีละ 350 ตันเท่านั้น ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ห่างจากจุดที่ตั้งใจไว้พอสมควร
        แต่การเดินทางที่ยังไม่ถึงจุดหมาย ไม่ได้หมายความว่าจะท�าให้ทุกคนใน CHULA Zero



        40 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47