Page 44 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 44

แก้วน�้ารักษ์โลก

            ก่อนจะเริ่มโครงการ CHULA Zero Waste จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีขยะแก้ว
        พลาสติกประมาณ 2 ล้านใบต่อปี
            2 ล้านใบ เป็นตัวเลขที่นับเฉพาะในโรงอาหารทั้ง 17 แห่ง ไม่ได้มาจากพื้นที่อื่น
        แน่นอนว่า หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ แก้วพลาสติก ซึ่งเป็นขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งคงกองท่วมรั้ว
        จามจุรี

            “เราแก้ปัญหาเรื่องแก้วน�้า ด้วยการเปลี่ยนมาใช้แก้วแบบใหม่ โดยใช้วิธีบูรณาการ 3
        ปัจจัย คือ 1.เทคโนโลยี 2.มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และ 3.การจัดการแบบครบวงจร

            ด้านเทคโนโลยี เราใช้เทคโนโลยีแก้วย่อยสลายได้ หากโยนแก้วลงไปในกองปุ๋ยหมัก
        แก้วจะย่อยสลายภายใน 4-6 เดือน ด้านเศรษฐศาสตร์ เราใช้วิธีลดราคาลง 2 บาท เป็นการ
        ให้รางวัลผู้ซื้อที่น�าแก้วมาเอง ส่วนข้อสุดท้าย การจัดการแบบครบวงจร สถาบันได้ท�าบันทึก
        ข้อตกลงร่วมกับกรมป่าไม้ ในการน�าแก้วไปใช้ปลูกต้นไม้แทนถุงด�า ซึ่งนอกจากจะลดการใช้
        ถุงด�าปลูกต้นไม้แล้ว ยังสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถน�าต้นไม้ลงดินได้ทั้งแก้วเลย
        เนื่องจากแก้วน�้าจะย่อยสลายไปเองตามกาลเวลา”

            ปัจจุบัน ขยะแก้วพลาสติกจากโรงอาหารทั้ง 17 แห่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี
        ตัวเลขเท่ากับศูนย์ โดยมหาวิทยาลัยส่งต่อแก้วน�้าทั้งหมดให้กรมป่าไม้น�าไปใช้ประโยชน์

            คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด หากจะบอกว่า นี่คือการจัดการขยะ
        ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง






















        42 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49