Page 149 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 149
บทน�า
3.1 ความเป็นมาและกระบวนการศึกษา
สภาวะทางจิตใจของบุคคลโดยธรรมชาติมีการปรับเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่รอบตัวของผู้นั้น ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่หยุดยั้ง ท�าให้สภาวะทางจิตใจของคนเรา
จึงมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ส่งผลให้สังคมเต็มไปด้วยการต่อสู้แข่งขัน
เกิดความแตกแยก เปราะบางและเกิดความขัดแย้งได้ง่าย ท�าให้บุคคลยิ่งเกิดปัญหา
ในการด�ารงชีวิตมากขึ้น เป็นความยากล�าบากของมนุษย์ที่จะต้องปรับตัวปรับใจ
กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความยุ่งยากใจ
และหากมีเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญและรับมือมากขึ้นก็จะยิ่งซ�้าเติมและเพิ่มพูน
ความเครียดให้แก่ตัวบุคคล ซึ่งหากต้องเผชิญกับความเครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
สุขภาพจิตของคนเราก็จะเริ่มอ่อนแอ และหากทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่
ในระดับที่ไม่สามารถจัดการได้ก็จะส่งผลให้สุขภาพจิตเสีย จิตใจท�างานผิดวิสัย
เกิดปัญหาหรือโรคทางจิตใจและอารมณ์ตามมา ซึ่งช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับ
การเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็วที่สุดคือช่วงวัยรุ่นที่มีการเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านชีววิทยา สรีระ และจิตวิทยา มีความทะเยอทะยาน มุ่งมั่น
ในการสร้างจุดมุ่งหมายให้กับชีวิตของตนเอง และถือเป็นระยะเริ่มแรก ที่บุคคล
เริ่มมองหาอาชีพการงานของตนในอนาคต มีการแสวงหาอัตลักษณ์ของตนเอง
ในแง่มุมต่างๆ อาทิ เรื่องของค่านิยม ภาพพจน์ของตนเอง กล้าลองกล้าเสี่ยง
เพราะหากล้มเหลวก็ถือเป็นบทเรียน เป็นช่วงเริ่มต้นของการเลือกรูปแบบชีวิต
ที่ตนพึงพอใจ ยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเองจนอาจกลายมาเป็นเหตุของความขัดแย้ง
หรือความคับข้องใจได้ วัยรุ่นมีทั้งความเชื่อมั่นและความขัดแย้งในตัวเอง มีความลังเล
สงสัยในการเจริญเติบโต ก่อเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว รุนแรง อันเนื่องมากจากความสับสน
ดังนั้น วัยรุ่นจึงควรมีบุคคลรอบข้างที่สามารถพูดคุย ระบายความรู้สึก และ
ช่วยสนับสนุนให้การส่งเสริมทักษะการด�าเนินชีวิตและการรับมืออย่างเหมาะสม
ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในของตนเองและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
ทางสังคม เพื่อให้เขาสามารถด�ารงชีวิตได้อย่างปกติสุขมากที่สุด
148 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research