Page 152 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 152

4. หลังเข้าร่วมกิจกรรมยาสูบอย่าสูบ การจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ใน

            ศูนย์ฝึกฯ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกฯ มีสุขภาวะด้านการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่
            ในศูนย์ฝึกฯ ดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมยาสูบอย่าสูบ
                   5. หลังเข้าร่วมแผนปฏิบัติการด้านสุขภาวะทางกายในภาพรวม เด็กและ
            เยาวชนในศูนย์ฝึกฯ มีสุขภาวะทางกายโดยรวม ดีกว่าก่อนเข้าร่วมแผนปฏิบัติการ
                   6. หลังเข้าร่วมแผนปฏิบัติการด้านสุขภาวะทางจิตในภาพรวม เด็กและ
            เยาวชนในศูนย์ฝึกฯ มีสุขภาวะทางจิตโดยรวม ดีกว่าก่อนเข้าร่วมแผนปฏิบัติการ



            กรอบแนวคิดในการวิจัย
                   การวิจัยในครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
            (Pender, 1996, p. 67): Revised Health Promotion Model. ที่กล่าวว่า
            ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลมีดังนี้ คือ ประสบการณ์และ
            ลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องและปัจจัยส่วนบุคคล
            มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งทางอ้อมจะผ่าน

            ปัจจัยด้านความคิดและความรู้สึกที่เฉพาะต่อพฤติกรรม ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยย่อย
            6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ กิจกรรม
            ทางกาย อาหารและโภชนาการ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการจัดการกับ
            ความเครียด ซึ่งผู้วิจัยได้น�าปัจจัยบางด้านของเพนเดอร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดท�า
            แผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ดังแสดง

            ในภาพที่ 1



















                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   151
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157