Page 154 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 154
ขอบเขตการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ก�าหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ดังนี้
1. ประเภทและรูปแบบวิธีการวิจัย : (Research Methodology) การวิจัย
เชิงปฏิบัติการ (Action research/ Participatory action research) ซึ่งแบ่งเป็น
4 ระยะ ตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action
Research) คือ 1. การวินิจฉัย (Diagnostic stage) หรือ pretest 2. การวางแผน
การด�าเนินงาน (Planning) 3. การลงมือปฏิบัติการ (Implementation)
และ 4. การประเมินผลการด�าเนินงาน (Evaluation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมส�าเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติ
เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ
เชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การใช้ Paired t- test เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
ระหว่างกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลัง
ทดลอง
2. ด้านเนื้อหาสาระ : ศึกษาผลการใช้แผนปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรม Good Food Good Health กิจกรรม Fit for health กิจกรรม อารมณ์ดี
และกิจกรรม ยาสูบอย่าสูบ ต่อการพัฒนาสุขภาวะส�าหรับเด็กและเยาวชน
ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี โดยเปรียบเทียบผลระหว่าง
ก่อนทดลองกับหลังทดลอง
3. ด้านประชากร : เด็กและเยาวชนที่เข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกและ
อบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ภายในปี พ. ศ. 2564
4. ด้านกลุ่มตัวอย่าง : เด็กและเยาวชนที่เข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึก
และอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564
จ�านวน 22 คน
5. ด้านระยะเวลา : ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564
6. ด้านตัวแปร : ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรม Good Food Good Health
กิจกรรม Fit for health กิจกรรม อารมณ์ดี และกิจกรรม ยาสูบอย่าสูบ ตัวแปรตาม
ได้แก่ การพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
หญิงบ้านปรานี
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 153
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research