Page 158 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 158
สุขภาพหลายมิติที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการพัฒนาสุขภาพของ
ประชาชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทบทวนความหมายและแนวคิดพฤติกรรม
การดูแลสุขภาพไว้ ดังนี้
สุขภาพ ตามความหมายขององค์การอนามัยโลกในอดีตที่ผ่านมา
ธรรมนูญแห่งองค์การอนามัยโลก ได้บัญญัติความหมายของสุขภาพไว้ว่า สุขภาพ
หมายถึง “สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้าน ร่างกาย สังคม และจิตใจประกอบกันไม่ใช่
แต่เพียงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความพิการเท่านั้น” ที่มา : กฎบัตรออตตาวา
(Ottawa Charter for Health Promotion. WHO Genewa, 1986 อ้างใน
ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์. 2541 : 2)
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ให้นิยาม “สุขภาพ
หมายความถึง ภาวะ ของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทาง
สังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่าง สมดุล” (ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง
ชาติ.2552: 6)
ความหมายของ สุขภาพ ตามนิยามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ
แผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 – 2549) ได้ให้ความหมาย สุขภาพ
ไว้ว่า สุขภาพ คือ สุขภาวะ ซึ่ง หมายความว่าสุขภาพ คือ สุขภาวะที่สมบูรณ์
และมีดุลยภาพทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ (คณะกรรมการ
อ�านวยการจัดท�าแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ 2544 : 27-28)
ประเวศ วะสี (2547) กล่าวว่า สุขภาพเป็นภาวะดุลยภาพ ซึ่งสามารถ
อธิบายได้ว่า สุขภาพ ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ กาย จิต สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งหากอยู่ในภาวะที่สมดุลก็มี สุขภาพดี หากมีการเสียดุลยภาพ
ก็จะท�าให้เจ็บป่วยจนถึงเสียชีวิตได้
สุรพจน์ วงษ์ใหญ่ (2552) กล่าวว่า สุขภาพองค์รวม หมายถึง ความสมดุล
ของทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วยหรือไม่มีโรค
หากยังครอบคลุมถึงการด�าเนินชีวิตที่ยืนยาว และมีความสุขของทุกคนด้วย
องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม (สุรพจน์ วงษ์ใหญ่, 2552)
องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวมมี 5 มิติ ได้แก่
1. มิติทางกาย (Physical dimension) เป็นมิติทางร่างกายที่สมบูรณ์
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 157
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research